เมื่อวันที่ ๒๘ ก.พ.๖๖ พล.อ.เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด นายโรเบิร์ต เอฟ. โกเดค เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย และพลเรือเอก จอห์น ซี. อากีลีโน ผู้บัญชาการกองกำลังสหรัฐอเมริกาภาคพื้นอินโด-แปซิฟิค

Release Date : 01-03-2023 17:22:15
เมื่อวันที่ ๒๘ ก.พ.๖๖ พล.อ.เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด นายโรเบิร์ต เอฟ. โกเดค เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย และพลเรือเอก จอห์น ซี. อากีลีโน ผู้บัญชาการกองกำลังสหรัฐอเมริกาภาคพื้นอินโด-แปซิฟิค

เมื่อวันที่ ๒๘ ก.พ.๖๖ พล.อ.เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด นายโรเบิร์ต เอฟ. โกเดค เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย และพลเรือเอก จอห์น ซี. อากีลีโน ผู้บัญชาการกองกำลังสหรัฐอเมริกาภาคพื้นอินโด-แปซิฟิค เป็นประธานร่วมในพิธีเปิดการฝึกร่วม/ผสม คอบร้าโกล์ด ๒๓ (Cobra Gold 23) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๗ ก.พ. - ๑๐ มี.ค.๖๖ ในการนี้ พลเรือตรี สมรภูมิ จันโท รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ผู้แทน ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน และพลเรือตรี วีระชัย หลีค้า ผู้บัญชาการกองพลนาวิกโยธิน ในฐานะ ผู้บัญชาการกองกำลังนาวิกโยธินร่วม/ผสม (CMAFOR) ร่วมในพิธีฯ ณ สถานีการบิน กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ อ.บ้านฉาง จว.ระยอง

โดยการฝึกคอบร้าโกลด์ 2023 เป็นการฝึกร่วมผสมทางทหารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่ง กองทัพไทย และ กองกำลังสหรัฐอเมริกา ภาคพื้นอินโด-แปซิฟิค ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดการฝึกในประเทศไทยเป็นประจำทุกปี เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ทางทหารที่ดีระหว่างมิตรประเทศที่เข้าร่วมการฝึก และพัฒนาขีดความสามารถในการอำนวยยุทธ์ร่วมและผสม รองรับภัยคุกคามทุกรูปแบบ ทุกมิติ ทั้งทางบก ทางทะเล ทางอากาศ ทางไซเบอร์ และเป็นปีแรกที่จะมีการฝึกรับมือกับภัยคุกคามด้านอวกาศ

ปีนี้มีประเทศเข้าร่วมการฝึกหลัก จำนวน ๗ ประเทศ ได้แก่

๑.ไทย

๒.สหรัฐอเมริกา

๓.สิงคโปร์

๔.ญี่ปุ่น

๕.อินโดนีเซีย

๖.สาธารณรัฐเกาหลี

๗.มาเลเซีย

นอกจากนั้นยังมีประเทศที่เข้าร่วมการฝึกเพิ่มเติมในโครงการช่วยเหลือประชาชน จำนวน ๓ ประเทศ ได้แก่

๑.สาธารณรัฐประชาชนจีน

๒.อินเดีย

๓.ออสเตรเลีย

ประเทศในโครงการเสนาธิการผสมส่วนเพิ่มนานาชาติ จำนวน ๑๐ ประเทศ ได้แก่

๑.บังกลาเทศ

๒.แคนาดา

๓.ฝรั่งเศส

๔.มองโกเลีย

๕.เนปาล

๖.นิวซีแลนด์

๗.ฟิลิปปินส์

๘.ฟิจิ

๙.สหราชอาณาจักร

๑๐.บรูไน

รวมทั้งประเทศที่ร่วมสังเกตการณ์ฝึกอีก ๑๐ ประเทศ ประกอบด้วย

๑.กัมพูชา

๒.ลาว

๓.บราซิล

๔.ปากีสถาน

๕.เวียดนาม

๖.เยอรมนี

๗.สวีเดน

๘.สาธารณรัฐเฮลเลนิก

๙.คูเวต

๑๐.ศรีลังกา

รวมทั้งสิ้น ๓๐ ประเทศ ยอดผู้เข้าร่วมการฝึกรวม ๗,๓๙๔ นาย