ยุทธภูมิเลื่อที่ "ภูหินร่องกล้า" ตอนที่ ๓

Release Date : 13-04-2023 00:00:00
ยุทธภูมิเลื่อที่ "ภูหินร่องกล้า" ตอนที่ ๓

ยุทธภูมิเลือดที่ "ภูหินร่องกล้า"

ตอนที่ ๓

โดย นาวาเอก (พิเศษ) สุรชัย สหภิญโญชนม์
 
 
กองร้อยปีนใหญ่ นาวิกโยธิน
 
          ประสบการณ์เพิ่มเติม จึงประสานไปยัง ป.พล.ร.๙ จ.กาญจนบุรี ซึ่งมีประสบการณ์ในการใช้ปืนใหญ่ ในสงครามเวียดนามมาแล้ว ยินดีให้การสนับสนุนให้คำแนะนำ ใช้ป็นใหญ่จาก ป.พล.ร.๙ กาญจนบุรี ส่วนกระสุน ร้อย.ป.นย. นำไปเอง จัดเฉพาะเจ้าหน้าที่ KEY MAN ไบฝึกหาประสบการณ์ด้านเทคนิคใหม่ ๆ เพิ่มเติมประมาณ ๔๐ นาย ฝึกภาคสนามที่บ้านหลุบหิน เขาชนไก่ จ.กาญจนบุรี ตั้งเต็นท์สนามนอน ๗ คืน ป.พล.ร.๙ วางแผนสร้างสถานการณ์ต่าง ๆ ให้ฝ่ายเรายิง (KEY MAN) ที่ไปฝึกประกอบ ด้วยส่วนสำคัญ ๆ ดังนี้
- ผบ.ร้อย.ป.ฯ รอง ผบ.ร้อย.ป.ฯ เจ้าหน้าที่ศูนย์อำนวยการยิง (FDC) FIRING DIRECTION CONTROL และเจ้าหน้าที่สนับสนุนอื่น ๆ ประมาณ ๒๔ คน
- นายทหารติดต่อปืนใหญ่ (นตต.ป.) จำนวน ๔ นาย นายทหารตรวจการณ์หน้า (นตน.ป.) จำนวน ๓ ชุด ๑๒ นาย รวมจำนวน ๑๖ นาย (กำลังพลร่วมฝึก ๔๐ นาย)
 
ป.พล.ร.9 กาญจนบุรี ให้ ร้อย.ป.เข้าที่ตั้งยิงตามแผนที่กำหนด เล่นเกมส์ การขอยิง การปรับการยิงในแต่ละเป้าหมาย กำหนดเวลาให้ ถ้าเกินเวลาตกไม่ผ่านการทดสอบ ศูนย์อำนวยการยิงก็กำหนดเวลาเช่นกัน เริ่มจากได้รับคำขอยิงจากตรจการณ์หน้า หาหลักฐานยิ่ง สั่งยิง ถ้าเกินเวลาตกไม่ผ่านการทดสอบ ไม่ว่าจะเป็นตรวจการณ์หน้า หรือศูนย์อำนวยการยิงก็ดี ทุกคนมีความชำนาญ และมีความคล่องตัวสูงอยู่แล้ว ผ่านทุกขั้นตอนการทดสอบจน เสธ.ฯ พ.อ.สุนทร ชมว่าศิษย์เก่งกว่าครูอีก (ปืนใหญ่ นย.จะไปเรียนหลักสูตรผู้บังคับกองร้อย และผู้บังคับกองพัน ที่ศูนย์การทหารปืนใหญ่ ลพบุรี) วางเกมส์ให้เล่นหลาย ๆ อย่าง ต้องการทดสอบความสามารถของตรวจการณ์หน้า ทดสอบความรวดเร็วของศูนย์อำนวยการยิงในการคำนวณหาหลักฐานยิง ดังนี้
           ยิงเป้าหมายตามเหตุการณ์ ปรับการยิงจนเป้าหมายถูกทำลาย วางเป้าไว้ตามสันเขาไหล่เขา ในหุบเขา ปรับการยิง ใช้กระสุนน้อยสุดถือว่าเก่ง (เป้าถูกทำลายไฟดับ)
          ยิงป้องกันฐาน (DEF CON หรือ DEF TAR) ให้ตรวจการณ์หน้าวางจุดยิงป้องกันฐานส่งบัญซีเป้าหมายให้ปืนใหญ่หาหลักฐานไว้ จับเวลา เป้าหมายไฟแวบขึ้นจุดใดให้ขอยิงจุดนั้น ๆ บางครั้งไฟแวบขึ้นมา ๔- - ๕ แห่ง ตรวจการณ์ต้องขอยิงให้เร็ว ทันเวลาเสมอ ใช้กระสุนน้อย เป้าถูกทำลายไฟดับหมดทุกจุด
          ยิง MARKING ROUND ให้ปืนใหญ่หาที่อยู่ให้ใช้กระสุนควันแตกอากาศ ปรับกระสุนให้ตรงศีรษะไม่เกิน 3 นัด ถ้าเกินตกไม่ผ่านการทดสอบ และยิงในปัญหาอื่น ๆ อีกมากมาย คอปืนใหญ่ด้วยกันจะเข้าใจในภาษาปืนใหญ่ดี ทุกภารกิจที่ ป.พล.ร.๙ ให้เล่นเกมส์นั้น ปืนใหญ่นาวิกโยธิน ยิงมาแล้วทุกรูปแบบ และอาจจะยิงมากกว่า ทบ.เสียอีก ตอนนั้นปืนใหญ่มี ๑ กองพัน ทำแผนการฝึกยิงของปืนใหญ่ตลอดปี ๓ ครั้ง (ใช้กระสุนยิงตามแผนแต่ละครั้ง ๓๐๐ - ๔๐๐ นัด) ปืนใหญ่ต้องการฝึกบุคคลากรให้มีความชำนาญ มีประสบการณ์ไม่หวังโชคช่วยแต่อย่างใด ปีนใหญ่ถือคติที่ว่า "ชำนาญดีกว่าโซค" ฝึกครบ ๗ วัน จบภารกิจเลี้ยงปืนใหญ่สังสรรค์พอหอมปากหอมคออำลาครูฝึกด้วยความขอบคุณ ต่างฝ่ายต่างชมความสามารถซึ่งกันและกัน ป.พล.ร.๙ อวยพรให้คณะเราประสบความสำเร็จในการปราบปรามฯ ตาม "แผนยุทธการสามชัย" ในครั้งนี้ถึงแม้กองทัพบกจะมอบพื้นที่รับผิดชอบให้หน่วยนาวิกโยธินเป็นพื้นที่น่ากลัวอันตรายมาก "หินร่องกล้า" เป็นกองบัญชาการใหญ่ของผู้ก่อการร้ายก็ตามนาวิกโยธินต้องสู้ ที่กล้าพูดได้เต็มปาก เพราะว่าเราฝึกมาดี ฝึกอย่างเข้มชัน มีความอดทน บีกบึน มีความรู้ความสามารถ พร้อมที่จะรบบนภูเขาได้ทุกสภาพอากาศ และเมื่อ "นย.รบที่ไหน ต้องชนะ"
 
กองอำนวยการฝึกร่วม 16
          การประกอบกำลังเพื่อรบ "แผนยุทธการสามชัย" ตามตะเข็บรอยต่อ ๓ จังหวัด ได้แก่ อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ อ.ด่านซ้าย จ.เลย และ อ.นครไทย จ.พิษณุโลก ซึ่งมีผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ปฏิบัติการใน ๓ อำเภอ ดังกล่าว โดยอาศัยเทือกเขาที่สลับซับซ้อน เชื่อมโยงติดต่อกันทั้ง ๓ อำเภอ ได้ช่องสุมกำลังเพื่อต่อต้านรัฐบาลทุกรูปแบบ ทบ.จัดกำลังเข้าปราบปรามติดต่อกันหลายปีแต่ยังไม่สำเร็จ จึงมีแนวคิดที่จะให้หน่วยนาวิกโยธินเข้ารบตามแผน "ยุทธการสามชัย " ซึ่งประกอบด้วยกำลังรบหลัก ๓ กองพัน ดังนี้
 
          ทก.พัน.ฉก.นย.(สน.) ตั้งกองอำนวยที่ "บ้านแม้วป่ายาบ" (ตั้ง ทก.สน.บนเนินเยื้องไปทางด้านหลัง ร้อย.ป)
 
        กองพันทหารราบนาวิกโยธิน เพิ่มเติมกำลังสมทบด้วย ๑ กองร้อยทหารปืนใหญ่ ๑ หมวดลาดตระเวน ๑ หมวดทหารช่าง ๑ หมวดพยาบาล มว.บ.ทร. (บ.01A จำนวน ๓ เครื่อง) และหน่วยสนับสนุนอื่น ๆ โดยได้รับมอบพื้นที่ปฏิบัติการ (OA) OPERATION AREA ตามแนวเทือกเขาตะเข็บรอยต่อของ ๓ จังหวัด รับผิดชอบเขตรอยต่อของ อ.หล่มสัก อ.หล่มเก่า บ้านแม้วบำยาบ จ.เพซรบูรณ์ รับผิดชอบ (OPERATION AREA พื้นที่ ๓) ให้ ร้อย.ปล.ที่ ๒ อยู่ด้านปีกขวา รับผิดชอบพื้นที่ปฏิบัติการ "ตากสิน ๔" ทิศทางเข้าตีหลักมุ่งไปทางเหนือบรรจบ พัน.สล. (พัน.ส่งกำลังทางอากาศ พลร่มหัวแดง) ส่วน ร้อย.ปล.ที่ ๓ อยู่ต้านปีกซ้าย รับผิดชอบพื้นที่ปฏิบัติการ "ตากสิน ๕" ทิศทางเข้าตีหลัก มุ่งไปเหนือปีกซ้ายสุดบรรจบ ร.๑๑ รอ. (ราบ ๑๑ บางเขน) พ.อ.ณรงค์ กิดติขจร เป็นผู้บังคับการกรม และทิศเหนือรกเข้าไปบรรจบ พัน.สล. ส่วน ร้อย.ปล.ที่ ๑ อยู่กลางระหว่าง ร้อย.ปล.ที่ ๒ กับ ร้อย.ปล.ที่ ๓ ให้ขึ้นยึด "ภูลมโล" เป็นกองร้อยแรก เป้าหมาย ซึ่ง ทบ. มอบให้ นย. เข้าตีที่มั่นหลัก "หินร่องกล้า" และทำลายมอบภารกิจให้ ร้อย.ปล.ที่ ๒ เข้าตีและทำลายหินร่องกล้า ล้ำเข้าไปในพื้นที่ อ.นครไทย จ. พิษณุโลก ส่วนอีกเป้าหมายสำคัญที่ ทบ. มอบให้ นย.เข้าตีและทำลาย คือ "ภูลมโลเหนือ" มอบภารกิจให้ ร้อย.ปล.ที่ ๓ เข้าตีและทำลาย ภูลมโลเหนือล้ำเข้าไปในพื้นที่ อ.ด่านซ้าย จ.เลย ส่วน "ภูลมโล" ที่ ร้อย.ปล. ที่ ๑ ขึ้นยึดไว้เป็นฐานนั้น เป็นเทือกเขายาว ติดต่อสลับซับซ้อนกับเท็อกเขาค้อ อยู่ย่านกลางพื้นที่ปฏิบัติการของ พัน.ฉก.นย. บ้านแม้วขี้เถ้า ภูขี้เถ้า "หินร่องกล้า" บริเวณร่องหินแตก "ภูหินร่องกล้า" เป็น "ขุมกำลังใหญ่เป็นที่ตั้งกองบัญซ่าการ ผกค." ร้อย.ปล.ที่ ๒ ยังบุกตลุยลาดตระเวน ตรวจค้นไปจนถึงบ้านแม้วข้อโป หรือบ้านแม้วชับโป ทบ.ยังแบ่งมอบพื้นที่ปฏิบัติการ ให้หน่วยนาวิกโยธินในครั้งนี้เป็นเป้าหมายสำคัญอีกแห่ง "ภูลมโลเหนือ" มอบภารกิจให้ ร้อย.ปล.ที่ ๓ ซึ่งลุยตรวจค้น ถ้ำเจี่ย ถ้ำเสา บ้านแม้วป้าหวาย และให้เข้ายึด "ภูลมโลเหนือ" ศึกครั้งนี้ใหญ่หลวงนักพวกเราต้องพบกับศีกหนักแน่นอน
          กองพันทหารราบ ๑๑ รักษาพระองค์ จากบางเขน กรุงเทพฯ (พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร เป็น ผบ.กรม ร.๑๑ และยังมี ๑ หมวดลาดตระเวนทหารม้า จาก จ.ขอนแก่น คอยให้การสนับสนุน ร้อย.ปล. ที่รบติดพัน หรือปฏิบัติภารกิจตามคำสั่งหน่วยเหนือ พัน.ร.๑๑ รับผิดชอบพื้นที่ปฏิบัติการ อ.ด่านซัาย จ.เลย ตามเขตรอยต่อของ อ.หล่มสัก อ.หล่มเก่า จ.พชรบูรณ์ และเขตรอยต่อ อ.นครไทย จ.พิษณุโลก
 
          กองพันส่งกำลังทางอากาศ หน่วยรบพิเศษ (พลร่มหัวแดง) จ.ลพบุรี รับผิดชอบพื้นที่ปฏิบัติการ อ.นครไทย จ.พิษณุโลก คลุมพื้นที่รอยต่อเขตการปกครองของ อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ และ อ.ด่านซ้าย จ.เลย
 
การเคลื่อนย้ายเข้าที่รวมพล
          การเคลื่อนย้ายกำลังต่าง ๆ ของ พัน.ฉก.นย.จากที่รวมพล พัน.ร.๑ ผส.นย. ค่ายกรมหลวงชุมพร อ.สัตหีบ เข้าสู่พื้นที่รวมพลขั้นสุดท้าย ทก.พัน.ฉก.นย.ที่ "บ้านหินฮาว" อ.หล่มเก่า ส่วน ร้อย.ปล.ทั้ง ๓ กองร้อย เข้าที่รวมพลบริเวณ "บ้านหินฮาว" อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ โดยยานยนต์ กระทำเป็น ๓ ส่วน (เที่ยวขน) ส่วน ร้อย.ป.๑๐๕ มม. เคลื่อนย้ายด้วยยายยนต์ของหน่วย หลังจาก พัน.ฉก.นย. และ ร้อย.ปล. เข้าที่รวมพลเรียบร้อยแล้ว ร้อย.ป. จัดรูปขบวนเดินทางออกจากที่รวมพล พัน.ป.๑ ผส.นย. ค่ายกรมหลวงชุมพร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรีเข้าสู่พื้นที่รวมพลขั้นสุดท้ายบริเวณ "บ้านสักหลง" อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์
 
          ส่วนกำลังของ บก.กกล.นย. ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกำลังใน กกล.เขต ทภ.๓ (ส่วนหน้า) และชุดสนับสนุนการช่วยรบ นั้น เคลื่อนย้ายจาก บก.ผส.นย. สัตหีบ โดยยานยนต์ไปเข้าที่รวมพล "ค่ายลูกเสือเก่าขุนผาเมือง" อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ 
 
การเคลื่อนย้ายเข้าสู่พื้นที่ปฏิบัติการ   ในขั้นการเคลื่อนย้ายจากสัตหีบ จนเข้าสู่พื้นที่ปฏิบัติการบ้านแม้วป่ายาบ ใช้เวลาตั้งแต่ ๓ พ.ย.๑๕ ถึง ๒๘ พ.ย.๑๕ รวม ๒๖ วัน
 
          การเคลื่อนย้ายกำลังของหน่วยต่าง ๆ เข้าที่รวมพลเรียบร้อยหมดทุกหน่วยแล้ว เป็นการเตรียมการทุกส่วนให้พร้อม ก่อนที่จะเคลื่อนย้ายจากที่รวมพลขั้นสุดท้าย ขึ้นสู่ฐานปฏิบัติการ"บ้านแม้วป่ายาบ" (บนเขา) ในพื้นที่รับผิดชอบนั้น เป็นการเคลื่อนย้ายด้วยกำลังทางอากาศ
กำลังพลทหารราบ ลำเลียงด้วย ฮ.(ฮิวฮี้) ของ ทบ. และ ทอ. รวม ๑๐๕ เที่ยว และ ร้อย.ป.๑๐๕ ยกหิ้วด้วย ฮ.(ชีนุก) ของ ทบ. ส่วน ทก.พัน.ทางยุทธวิธี ตั้งอยู่ที่บ้านแม้วป่ายาบ ณ ฐานปฏิบัติการ "บ้านแม้วป่ายาบ" ตั้งอยู่บนยอดเขาลูกหนึ่งของเทือกเขาที่เป็นรอยต่อเขตแดน ๓ จังหวัด ได้แก่ เพชรบูรณ์ เลย และพิษณุโลก ซึ่งมี "กูหินร่องกล้า" รวมอยู่ในพื้นที่ปฏิบัติการ (พื้นที่ ๓) นี้ด้วย ร้อย ปล.ทั้ง ๓ กองร้อย ของ พัน.ฉก.นย. ได้เคลื่อนย้ายเข้ามาปฏิบัติการในเขตรับผิดชอบของตนต่อไป ส่วน ร้อย.ป. ใช้เป็นฐานยิงสนับสนุน ให้แก่ ร้อย.ปล.ทั้ง ๓ กองร้อย ของ พัน.ฉก.นย. ได้อย่างทั่วถึงทุกจุด และยังสามารถยิงสนับสนุนให้กำลังของ ทบ. ในพื้นที่ใกล้เคียงได้ด้วย นับว่าเป็นที่ตั้งฐานยิงปืนใหญ่ที่เหมาะสมที่สุด
 
           การเข้าพักในพื้นที่รวมพล พัน.ฉก.นย. เป็นหน่วยแรกในการเคลื่อนย้ายด้วยยานยนต์ แบ่งการเคลื่อนย้ายเป็น ๓ ส่วน (เที่ยวขน) เริ่มต้น ร้อย.ปล.ที่ ๑, มว.ลาดตระเวน และในวันต่อ ๆมาขนย้าย ร้อย.ปล.ที่ ๒ และ ร้อย.ปล.ที่ ๓ ตามลำดับ โดย ทก.พัน.ฉก.นย. เข้าที่ตั้ง ณ "ค่ายลูกเสือเก่าเมืองลุ่มบ้านหินฮาว" อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ ส่วน ร้อย.ปล.ทั้ง ๓ กองร้อย เข้าพื้นที่รวมพลบริเวณ "บ้านหินฮาว" อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์
 
            กองร้อย ป.๑๐๕ เคลื่อนย้ายด้วยยานยนต์เป็นลำดับต่อมา หลังจาก ทก.พัน.ฉก.นย. และ ร้อย.ปล.ต่าง ๆ เข้าพื้นที่รวมพลเรียบร้อยแล้ว ร้อย.ป. ๑๐๕ ได้เคลื่อนย้ายเข้าที่รวมพลบริเวณ "บ้านสักหลง" อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์
 
            การเคลื่อนย้ายเข้าที่รวมพล ลำดับสุดท้ายเป็นส่วนกำลังของ บก.กกล.นย. ซึ่งเป็นหน่วยหนึ่งของกำลังใน กกล.เขต ทภ.๓ (ส่วนหน้า) และชุดสนับสนุนการช่วยรบ นั้น เคลื่อนย้ายจาก บก.ผส.น.สัตหีบ โดยยานยนต์ไปเข้าที่รวมพล ณ "ค่ายลูกเสือเก่าพ่อขุนผาเมือง" อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ ในขั้นการเคลื่อนย้ายเข้าสู่พื้นที่ปฏิบัติการนี้ใช้เวลาตั้งแต่ ๓ พ.ย.๑๕ ถึง ๒๘ พย.๑๕ (รวม ๒๖ วัน) การเข้าพักในที่รวมพล ๓ คืน เป็นการเตรียมการครั้งสุดท้ายก่อนเข้าพื้นที่ปฏิบัติการ (OA) ซึ่งเป็นพื้นที่กว้างขวางมาก การแจกจ่าย - รับเสบียงอาหารแห้งข้าวสาร ๕ กก. เตรียมเต็นท์บุคคล พลั่วสนาม เสื้อผ้า มุ้ง ผ้าห่ม ตะพาบน้ำ อาวุธประจำกาย รวมน้ำหนัก ประมาณ ๔๐ - ๕๐ กก. แบกน้ำหนักขนาดนี้ปืนเขา ลงหุบ ขึ้นเนิน คิดดูจะลำบากขนาดไหน พนักงานวิทยุต้องแบกวิทยุ PRC-25 และ BATTERY APU-386 อะไหล่เพิ่มอีก ๒ ก้อน แต่วิทยุต้องช่วยกันผลัดเปลี่ยนกัน แบก คืนแรกนอนหลับสบายเพราะเหน็ดเหนื่อยจากการเดินทางไกลสัตหีบ-หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์
           นอนคืนที่ ๒ จัดดนตรีกล่อมขวัญทหารก่อนปล่อยขึ้นเขา นักร้องสาว ๆ เต็มเวที ครูสาว มารำเบิกโรง ฟ้อนเล็บ เซิ้งกระดิบ เป็นที่ถูกอกถูกใจพี่หารเป็นอย่างยิ่ง ขึ้นเขาไปแล้วขมนกชมไม้ไปพลาง ๆ ก็แล้วกัน ทางจังหวัดจัดครูสาวมาเต็มสูบ คงจะเอาใจ พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร ด้วย เพราะว่าในตอนนั้นกำลังดังสุดขีด ตรวจการณ์หน้ายังไม่แยกไปสมทบ ร้อย.ปล.คงฝากท้องไว้กับ ร้อย.ป.(มีครัวปรุงอาหารเอง) ถ้าไปอยู่กับทหารราบต้องกางเต็นท์นอน กินอาหารกระป๋อง ยังไม่ถึงคราวลำบาก และยังไม่จำเป็นออมร่างกายไว้ก่อน เมื่อถึงคราวลำบากก็ต้องยอม คืนนั้นดนตรีเลิก ๐๒.๓๐ น. ต้องนอนพักผ่อนเต็มที่ คงมีพวกหนีเที่ยวในตัวเมืองบ้าง
 
           นอนคืนที่ ๓ คืนสุดท้าย ณ ค่ายลูกเสือจังหวัดเพซรบูรณ์ ด้านหลังค่ายลูกเสือห่างออกไปหลายกิโลเมตรเห็นเทือกเขายาวเหยียดดำทะมึนกั้นขวางอยู่ ถ้าจะเข้าพื้นที่ปฏิบัติการ (OA) OPERATION AREA จะต้องเดินข้ามเขาลูกที่ขวางหน้าไปเรียกว่า "ภูแผงม้า" ถ้าจะให้ทหารนาวิกโยธินเดินข้ามเขาลูกนี้ไป คงจะเหน็ดเหนื่อยและอ่อนล้ายังไม่ถึงคราวจำเป็น คงไม่ตัดกำลังทหารนาวิกโยธิน ซึ่งรู้แผนแล้ว (คงไม่ให้เดินข้ามเขาให้เสียแรง และจะเสียเวลามาก)
 
          ทบ.ใจถึงรบแบบเศรษฐีอเมริกัน ตรวจการณ์หน้าปืนใหญ่ สมทบ ร้อย.ปล.ที่ ๒ และร้อย.ปล.ที่ ๓ ให้แยกไปสมทบ เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง (ฮิวอี้) ๑๒ ลำ หิ้ว ร้อย.ปล.ที่ ๒ ไปลงในพื้นที่ (OA) และอีก ๑๒ ลำหัว ร้อย.ปล.ที่ ๓ ไปลงในพื้นที่ (OA) จนหมดทั้ง ๒ กองร้อย ในช่วงบ่ายหิ้ว ร้อย.ปล ที่ ๑ ไปลงที่บ้านแม้วป่ายาบก่อนเพื่อป้องกันฐานให้ปืนใหญ่ในขั้นต้น ซึ่งปืนไหญ่ได้เลือกที่ตั้งยิงไว้ที่บ้านแม้วป่ายาบ ตรวจการณ์หน้า ร้อย.ปล.ที่ ๑ ยังอยู่กับ ร้อย.ป.เพราะไปลงที่เดียวกัน ในช่วงบ่าย (ฮิวอี้) ๒๔ ลำ นำกำลังพลปืนใหญ่ อาวุธยูทโธปกรณ์ กระสุน บินข้าม "ภูแผงม้า" ไปลงที่ฐานยิงปืนใหญ่บ้านแม้วป่ายาบ ส่วน ชีนุค ๑ ลำ หิ้วกระสุนและปืนใหญ่ ๑๐๕ มม. ไปเที่ยวละกระบอกจนหมด ปืนใหญ่เข้าที่ตั้งวางพื้นยิงพร้อมแล้วรายงานไปยัง ทก.พัน.ร.นย. หล่มเก่า เข้าที่ตั้งยิงพิกัด..เรียบร้อย ตั้งฐานยิงปืนใหญ่ บ้านแม้วป่ายาบ เป็นเขตทำกินของชาวแม้ว ไม่มีคนอยู่เป็นหมู่บ้านร้างนานแล้ว "ฐานยิง KING บ้านแม้วป่ายาบ" นามเรียกขาน (CALL SIGN)
"เอสโซ่"
 
          วันแรกเข้าพื้นที่ปฏิบัติการ (OA) ร้อยปล.ที่ ๒ ตั้งฐานปฏิบัติการคืนแรก เข้าที่ตั้งให้ใกล้แหล่งน้ำไว้ก่อน โดยยึดแนริมฝั่งขวาเหนือโค้งตัว U ของ "ห้วยหลวงใหญ่" ส่วน ร้อย.ปล.ที่ ๓ ตั้งฐานเกาะริมฝั่งห้วยหลวงใหญ่เช่นกัน แต่อยู่ตรงส่วนโค้งรูปตัว U ค่อนไปทางด้านซ้าย (เป็นอันว่า ร้อย.ปล.ที่ ๒ และ ร้อย.ปล.ที่ ๓ อยู่ริมฝั่งห้วยหลวงใหญ่ แต่อยู่คนละด้านโค้งรูปตัว U) เมื่อตั้งฐานปฏิบัติการเรียบร้อยแล้ว ร้อย.ปล.ที่ ๒ และ ที่ ๓ รายงาน ทก.พัน.ร.นย. หล่มเก่า ร้อย ๒ ตั้งฐานปฏิบัติการ พิกัด...ร้อย ๓ ตั้งฐานปฏิบัติการ พิกัด...ตรวจการณ์หน้าทั้ง ๒ กองร้อย แจ้งพิกัดของร้อย ๒ และร้อย ๓ ให้ปืนใหญ่ทราบ ศูนย์อำนวยการยิง PLOT พิกัตทั้ง ๒ กองร้อยแล้ว ตั้งฐานปฏิบัติการห่างกันเกือบ ๑๑ กิโล (ปืนใหญ่ไม่เชื่อฟิกัต..ทั้ง ๒ กองร้อยอาจไม่ถูกต้อง) การหาที่อยู่ด้วยแผนที่เข็มทิศ ภูเขาที่สลับชับซ้อนจนแยกไม่อกว่ายอดไหนเป็นยอดไหน ถ้าวัดผิดยอดแล้วคิดว่าเป็นยอดนั้นยอดนี้ การหาที่อยู่จึงมีโอกาสผิดมาก ดูที่ศูนย์อำนวยการยิงแล้ว พิกัดทั้ง ๒ กองร้อย (ผิดแน่นอน) ผบ.ร้อยปืนใหญ่ ถามว่า "พิกัตทั้ง ๒ กองร้อย" น่าจะผิด หันมาถาม ร.ต.สุรชัย ก็เสนอแนะไปใช้ปืนใหญ่หาที่อยู่ให้โดยยิง MARKING ROUND กระสุนควันแตกอากาศ ยิงไประหว่างกลางของทั้ง ๒ กองร้อย แจ้งให้ (นตน.ป.) "หงส์หยก และกิเลน" วัดมุมภาค แล้วปรับให้ตรงศีรษะ ปีนใหญ่หาที่อยู่ให้ เมื่อ Plot พิกัตทั้ง ๒กองร้อยแล้ว ตั้งฐานเยื้องๆ กันตรงโค้งกันตัว U วัดระยะแล้วห่างกันประมาณ ๔ กม. เท่านั้น ใช้ปีน M.79 ยิงก็ถึงแล้วต้องรายงานขอแก้พิกัด...ใหม่ทั้ง ๒ กองร้อย (แค่วันแรกก็ทดสอบวิชาแล้ว)
 
          การล้างลำกล้องปืนใหญ่ด้วยการยิง (พูดเล่น ๆ) ให้ล้างลำกล้องปืนใหญ่ วันรุ่งขึ้น ผบ.ร้อย.ป. น.ต.สมภูรณ์ สุนทรเกตุ (พล.ร.ท.สมฎรณ์ สุนทรเกตุ เสียชีวิตแล้ว) ตอนนั้น ร้อย.ปล.ที่ ๑ เข้าที่ตั้งต้านซ้ายฐานปืนใหญ่ อยู่บ้านแม้วป่ายาบด้วยกัน ตรวจการณ์หน้า ๑ ยังไม่แยกสมทบคงฝากท้องไว้กับร้อยป็นแต่เดินไปมาถึงกัน ผบ.ร้อยป็นถามว่า เฮ้ย..สุรชัย จะทำยังไงวะ ร้อย ๒ และ ร้อย.๓ แจ้งพิกัด..ห่างกันตั้ง ๑๑ กิโล (ไม่เชื่อ) ผมทราบแล้ว (ดูจากโต๊ะศูนย์อำนวยการยิงที่ Plot พิกัดของ ร้อย ๒ และ ร้อย ๓ อยู่ห่างกัน ๑๑ กิโล) ก็เลยตอบเล่น ๆ ไปว่า ต้องล้างลำกล้อง ปืนใหญ่ยิง MARKNG  ROUND ด้วยกระสุนควันแตกอากาศ สูง ๔๐๐ แจ้งให้ตรวจการณ์ปรับให้ตรงศีรษะ ปืนใหญ่จะหาที่อยู่ให้ในวันรุ่งขึ้นนั่นแหละ เสียงคำรามจาก "ฐานยิง KING" ด้วย กระสุนควันแตกอากาศยิงไประหว่างกลางทั้ง ๒ กองร้อย ให้ (นตน.ป ๒) วัดมุมภาคปรับเข้าหาตัวเองจนตรงศีรษะ และ ให้ (นตน.ป.๓) วัตมุมภาค ปรับเข้าหาตัวเองจนตรงศีรษะ ทหารราบที่อยู่วงรอบนอกอาจจะตกใจบ้าง เพราะเสียงกึกก้องไปตามป่และภูเขาสะท้อนตังมาก ศูนย์อำนวยการยิง Plot พิกัดให้ ร้อย ๒ และ ร้อย ๓ อยู่ห่างกันเพียง ๔ กิโลกว่าเท่านั้น ถ้ายิงด้วย M79 อาจจะถึงด้วยซ้ำไป ขอแก้พิกัดใหม่ไป ทก.พัน.ร.นย. หล่มสัก ขอให้เชื่อปืนใหญ่หาที่อยู่ให้ "ถ้าผิดให้ผิดตาม" รับรองว่ากระสุนปืนใหญ่ จะไม่ลงฐานตัวเองเด็ดขาด ไม่ต้องกลัวว่าผู้ก่อการร้ายฯ จะรู้ เกาะฐานพวกเราตลอดเวลา ถ้ามีโอกาสก็ซุ่มยิงทันที
 
          เช้ามืดคืนที่ ๒ ร้อย ปล.ที่ ๒ ออกเดินทางไปตั้งฐานใหมในพื้นที่ปฏิบัติการ (OA) ทางด้านปีกขวา ร้อย.ปล.ที่ ๓ อยู่ปีกซ้าย และ ร้อย.ปล.ที่ ๑ อยู่กลางยังไม่ขยับรอ วัน-ว. เวลา-น. ที่ให้ทุกหน่วยเข้าปฏิบัติการพร้อมกันทั้ง ๓ กองพัน ส่วน พัน.ร.นย. ได้แบ่งพื้นที่ปฏิบัติการ (OA) OPERATION AREA ให้แต่ละกองร้อย ร้อย.ปล.ที่ ๒ รับผิดชอบพื้นที่ปฏิบัติการ (OA) ทางด้านปีกขวา ร้อย.ปล.ที่ ๓ รับผิดชอบพื้นที่ปฏิบัติการ (OA) ทางด้านปีกซ้าย ส่วน ร้อย.ปล.ที่ ๑ รับผิดชอบพื้นที่ปฏิบัติการ (OA) ตรงกลางระหว่าง ร้อย.ปล.ที่ ๒ และ ร้อย.ปล.ที่ ๓ วางแผนบนแผนที่ ขีดเส้นทางที่ทุกหน่วยจะไป ซึ่งจะต้องรุกคืบหน้าไปในแต่ละวัน ตรวจการณ์หน้า (นตน.ป.) ร้อย ๑ วางแผนการเดินร่วมกับ ผบ.ร้อย.ปล.ที่ ๑ วางเป้าหมายยิงคุ้มครองเส้นทางการเดิน แต่จะไปแบบลับที่สุด เดินทางเวลากลางคืน ถึงแม้การควบคุมบังบัญชาจะยุ่งยากก็ต้องยอมเพื่อให้ปลอดภัยที่สุดจะใช้ปืนใหญ่เมื่อจำเป็นเท่านั้น เรียกผู้บังคับหมวด ผู้บังคับหมู่ซักซ้อมแผนจนเข้าใจ เทือกเขาสูงที่พวกเรามองเห็นขวางอยู่ข้างหน้าปืนใหญ่นี่แหละอยู่ใน (OA ) ของร้อย.ปล.ที่ ๑ พวกเราต้องข้ามเขาลูกนี้ไปให้ได้ นั่นแหละ "ภูลมโล" เป็นเทือกเขายาวเหยียดสลับชับซ้อน ติดต่อกันไปจนถึงเทือกเขาค้อ ภูลมโลเหนือ ภูขี้เถ้า ซึ่งเป็นอีก ๒ - ๓ ยอดที่สูงตระหง่านอยู่ข้างหน้าถัดไป
ซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ ๑,๖๐๐ เมตร "หินร่องกล้า" หรือ "ร่องหินแตก" ซึ่งเป็น กองบัญชาการของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์จะอยู่บนแนวเทือกเขานี้ ทำอย่างไรก็ต้องเจอศึกหนักที่ไม่ใช่ธรรมดา กองกำลังรบจรยุทธ์ด้อยกว่าฝ่ายเรา คือไม่มีอาวุธปืนใหญ่สนับสนุนเท่านั้น การรู้จักภูมิประเทศดี ความชำนาญในการเดินป่า มีความคล่องตัวสูง จึงเป็นส่วนที่ฝ่ายเราเสียเปรียบแต่ ผกค.สู้พลางถอยพลางได้เปรียบก็ชุ่มยิง วางกับระเบิด คนไล่คนในป่าดงดิบอย่างนั้นหาไม่ค่อยเจอ เขาหนีเราไล่ ยากมากที่จะเจอกันแบบซึ่งหน้า ทำให้รวมกลุ่มกันไม่ได้ ทิ้งฐานหนีเพื่อความอยู่รอด ทำอะไรฝ่ายเราไม่ได้มาก ก็ถือว่าบรรลุภารกิจที่ได้รับมอบแล้ว...
 
 
 
ขอขอบคุณ
นาวาเอก (พิเศษ) สุรชัย สหภิญโญชนม์
วารสารสารสัมพันธ์ศิษย์เก่าโรงเรียนจ่านาวิกโยธิน