ยุทธภูมิเลือดที่ "ภูหินร่องกล้า" ตอนที่ ๑

Release Date : 13-04-2023 00:00:00
ยุทธภูมิเลือดที่ "ภูหินร่องกล้า" ตอนที่ ๑

ยุทธภูมิเลือดที่ "ภูหินร่องกล้า"

ตอนที่ ๑

โดย นาวาเอก (พิเศษ) สุรชัย สหภิญโญชนม์
 
การรบที่ "ภูหินร่องกล้า" ตามแผนยุทธการสามชัย (ปี ๒๕๑๕ - ๒๕๑๖)
 
ความเป็นมา (อดีตที่ผ่านมา)
 
         กองทัพเรือมีแนวความคิดในการฝึกร่วม ทักษิณ ๑๐ ทักษิณ ๑๒ และทักษิณ ๑๓ ซึ่งเป็นการฝึกร่วมในการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ที่ได้ดำเนินการฝึกร่วมมา ๓ ครั้ง นั้น บก.ทหารสูงสุด ต้องการฟังแนวคิดในการฝึกร่วมของกองทัพเรือในการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ก่อนการฝึกแต่ละครั้ง บก.ทหารสูงสุด ได้กำหนดให้กองอำนวยการฝึกของกองทัพเรือไปบรรยายสรุปแผนการฝึกโดยละเอียดให้ ผบ.ทหารสูงสุด (จอมพล ถนอม กิตติขจร) และฝ่ายอำนวยการของ บก.ทหารสูงสุด ฟังด้วยทุกครั้ง
 
         ในปี พศ.๒๕๑๔ หลั่งจากกองทัพเรือได้ทำการฝึกร่วม "ทักษิณ ๑๓" จบแล้ว ผบ.ทหารสูงสุด ได้พิจารณาเห็นว่า แนวความคิดในการฝึกร่วมของกองทัพเรือ เพื่อปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ นั้น เป็นแนวความคิดที่ดีและมีประโยชน์ ผบ.ทหารสูงสุด จึงได้สั่งให้กองทัพบกจัดตั้งกองอำนวยการฝึกร่วมปี ๑๔ ขึ้น โดยจัดกำลังจาก ทบ. และ ทอ. เป็นการฝึกปฏิบัติการจริงในการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์พื้นที่จังหวัดน่าน เรียกการฝึกครั้งนี้ว่า "การฝึกร่วมปี ๑๔ ตามแผนยุทธการผาลาด" และการฝึกทำนองนี้ได้มีอีกครั้งหนึ่งในปี ๒๕๑๕ เป็นการฝึกร่วมของ ทบ. และ ทอ. เช่นเดียวกัน ในพื้นที่รอยต่อของ จว.พิษณุโลก จว.เพชรบูรณ์ และ จว.เลย เรียกการฝึกนี้ว่า "การฝึกร่วมปี ๑๕ ตามแผนยุทธการภูขวาง"
 
          ในปลายปี พ.ศ.๒๕๑๕ ถึงต้นปี พ.ศ.๒๕๑๖ (งป.๑๖) กองทัพบกได้ร้องขอกำลังทหารนาวิกโยธิน จำนวน ๑ กองพัน จากกองทัพเรือไปร่วมปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในการฝึกร่วมปี ๑๖ โดยกองทัพบกให้เหตุผลว่า เนื่องจากกำลังในการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ขาดแคลน กองทัพเรือได้สนองตอบคำขอของกองทัพบก โดยส่งกำลัง ๑ กองพันทหารราบนาวิกโยธิน เพิ่มเติมกำลัง เข้าร่วมฝึกด้วยบริเวณฎหินร่องกล้า ซึ่งเป็นพื้นที่รอยต่อของของ จว.พิษณุโลก จว.เพชรบูรณ์ และ จว.เลย เรียกการฝึกนี้ว่า "การฝึกร่วมปี ๑๖ ตามแผนยุทธการสามชัย"
 
          ต่อมาในปลายปี ๑๖ ถึงต้นปี ๑๗ (ปี งป.๑๗) กองทัพบกได้ร้องขอกองทัพเรือเช่นเดียวกัน จึงได้ส่งกำลังอีก ๑ กองพันทหารราบนาวิกโยธินเพิ่มเติมกำลัง ไปฝึกร่วมปี ๑๗ เพื่อปฏิบัติการจริง ในการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เรียกการฝึกนี้ว่า "การฝึกร่วมปี ๑๗ตามแผนยุทธการผาภูมิ" ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของการฝึกร่วมแบบนี้ ด้วยเหตุผลพบข้อจำกัดของการฝึกร่วมแบบการปฏิบัติการจริงหลายประการ เช่น หากเรียกชื่อว่าเป็นการฝึกแล้ว กำลังพลที่เข้าปฏิบัติการจริง เมื่อมีการเสียชีวิตเกิดขึ้นอาจมีปัญหาในด้านสิทธิกำลังพล
 
          หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ได้กำหนดภารกิจ โดยพิจารณาถึงขอบเขตการปฏิบัติการ การเตรียมกำลัง การฝึกอบรมกำลังพลของหน่วย เพื่อสนองตอบภารกิจไว้ว่า ให้มีความสามารถทำการ "รบยกพลขึ้นบก" ได้ ให้มีความสามารถทำการ "รบพิเศษ" ได้ ป้องกันฐานทัพเรือได้ และให้มีความสามารถทำการ "รบบนบก และภูเขา" ได้
 
          กำลังพลหน่วยทหารนาวิกโยธิน ทหารนาวิกโยธินทุกคนได้รับการฝึกอย่างหนักให้มีความรู้ ความสามารถ เข้มแข็งอดทน ต้องทนได้ทุกสภาพอากาศ โดยเฉพาะนายทหารชั้นประทวนต้องรับการฝึกฝนจนช่ำชอง มีความรู้ความสามารถทุกด้าน เป็นผู้นำหน่วยทหารขนาดเล็กได้ มีลักษณะผู้นำ เป็นกระจกเงาที่ดี เป็นรั้วของชาติที่แข็งแกร่ง เป็นกระดูกสันหลังของกองทัพเรือ เมื่อเข้าสนามรบจริงไม่มีใครช่วยได้ นอกจากตัวเอง จะนำพาทหารไปแพ้หรือชนะ การฝึกมาอย่างดีเท่านั้นถึงจะกล้ากล่าวได้ว่า "นาวิกโยธินรบที่ไหน ต้องชนะ" นี่คือแหล่งผลิต "ทหารนาวิกโยธิน" ซึ่งได้ผ่านสนามการต่อสู้ การปราบปราม การค้นหา การพิสูจน์ทราบมาแล้วหลายพื้นที่ ในหลายเหตุการณ์ที่แตกต่างกัน แล้วแต่สถานการณ์ หรือแล้วแต่ภารกิจที่ได้รับมอบหมาย ผ่านการเข้าปราบปรามอันธพาลครองเมือง ผู้มีอิทธิพล ทำตัวเป็นอันธพาล เป็นผู้ยิ่งใหญ่ ไม่เกรงกลัวกฎหมายสั่งปราบปรามขั้นเด็ดขาดทั่วประเทศ (จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์) เข้าปราบปรามโจรจีนคอมมิวนิสต์ขบวนการก่อการร้ายทางภาคใต้ ทำการสู้รบกับกำลังทหารกัมพูชาตามแนวชายแตนไทย-กัมพูซา
ด้านจังหวัดจันทบุรี-ตราด ตั้งแต่กรณีพิพาทเขาพระวิหาร เป็นต้นมา และได้ปฏิบัติภารกิจตามแผนยุทธการหลาย ๆ แผนมาแล้ว หรือที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา
 
ยุทธการสามชัย
          ยุทธการสามชัย เป็นการปฏิบัติการจริงที่แผงมาในคำว่าฝึก มีชื่อเป็นทางการว่า "การฝึกร่วม ๑๖ ตามแผนยุทธการสามชัย" เป็นการปราบปามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในพื้นที่ภาคเหนือบริเวณรอยต่อ ๓ จังหวัด คือ อ.หล่มสัก จว.เพชรบูรณ์ อ.นครไทย จว.พิษณุโลก และ อ.ด่านซ้าย จว.เลย โดยเข้าปฏิบัติการในห้วงเวลาปลายปี ๑๕ ถึงต้นปี ๑๖ (ตั้งแต่ ๓ ก.ค.๑๕ - ๒๙ ม.ค.๑๖) ใช้งป.ปี ๑๖ นับว่าเป็นยุทธการแรกที่กองพันทหารราบนาวิกโยธินเพิ่มเติมกำลัง ได้มีโอกาสไปร่วมปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์กับกำลัง ทบ. (ทภ.๓) และ ทอ. ในพื้นที่ป่าเขาซึ่งอยู่ห่างไกลที่ตั้งของตน และมีภูมิประเทศที่แตกต่างจากชายฝั่งทะเลที่ทหารนาวิกโยธิน มีความคุ้นเคย
 
          การบรรยายสรุปของ น.อ.ประชา ขนิษฐชาด ผบ.ผส.นย. จากเอกสารที่บรรยายสรุปให้ ผบ.ทร. และนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของ ทร. ทราบเกี่ยวกับยุทธการสามชัย หรือการมีกร่วม ๑๖ ตามแผนยุทธการสามชัย เมื่อ ๑๕ พ.ย.๑๕ เวลา ๑๐๐๐ น. ณ ห้องประชุมส่วนบัญชาการ ทร. จะช่วยให้ทราบสาเหตุความเป็นมาที่ ทบ. ขอให้ ทร, จัดกองพันทหารราบนาวิกโยธินเพิ่มเติมกำลัง ไปร่วมปฏิบัติการ ตลอดจนภูมิหลังต่าง ๆ ที่พอให้คนรุ่นหลังได้ทราบ เช่น
 
          เมื่อกลางเดือน มิ.ย.๑๕ กำลังพลของ นย. เพิ่งกลับจากการฝึกทดสอบแผนการปฏิบัติการในภาคใต้ ก็ได้รับคำสั่งให้ไปวางแผนกับ ทบ.ในการฝึกร่วม ๑๖ ที่ ศปก.ทบ. เมื่อ ๒๙ มิ.ย.๑๕ ทันที เอกสาร "ลับมาก" ของ บก.ทหารสูงสุด และจากคำกล่าวของ ผอ.ฝร.๑๖ในการประชุมวางแผนฝึกร่วม ๑๖ มีสาระสำคัญว่า "ทบ. ไม่มีเวลาพักผ่อนในการปราบปราม ผกค.โดยเฉพาะในเขต ทภ.๓ ขอให้ ทร. ได้ช่วยบ้าง เพื่อให้ ทบ. ได้มีเวลาพักผ่อนตามสมควร"
 
          ประสบการณ์ของ นย. ผบ.ผส.นย. ท่านกล่าวในที่ประชุม ศปก.ทบ. ว่า   "เกาหลีก็ไม่มีโอกาสไป"    "เวียตนามก็ไปไม่ได้" ประสบการณ์จึงไม่มี แต่จะทำให้ดีที่สุด งบประมาณไม่สำคัญ ความสำคัญอยู่ที่การฝึกเตรียมเพราะกลับตัวแทบไม่ทัน (เพิ่งกลับจากการฝึกทดสอบแผนในการปฏิบัติการภาคใต้)
 
          การประกอบกำลัง และยอดกำลังพล จัดเป็น ๓ ส่วนใหญ่ ๆ โดยเฉพาะการจัดกำลังในส่วนที่ ๒  และ ๓ นั้น เป็นการจัดที่ประหยัดกำลังพลมาก
 
          การประกอบกำลัง กองพันเฉพาะกิจ (พัน.ฉก.นย. ไม่รวม มว.บ.ฉก.๑๐๖๑) ๑ พัน.ร.ผส.นย. (พันร.๑ เป็นแกนจัด บก.พัน.มี ๓ ร้อย.ปืนเล็ก โดยจัดจาก พัน.ร.๑ ฯ และ พัน.ร.๓ ฯ และ พัน.ร.๗ ฯ กองพันละ ๑ ร้อย.ปีนเล็ก) น.ท.สมหวัง ตันเสถียร เป็นผู้บังคับกองพันเฉพาะกิจนาวิกโยธิน
๑ ร้อย.ป.๑๐๕ มม. ๖ กระบอก (น.ต.สมภูรณ์ สุนทรเกตุ เป็น ผบ.ร้อย.ป.)
๑ มว.ลาดตระเวน
๑ มว.ทหารช่าง
๑ มว.พยาบาล
๑ มว.บินเฉพาะกิจ (มว.บ.ฉก.จัดจาก กบร.กร. มี บ.ตรวจการณ์ 01A จำนวน ๓ เครื่อง)
 
          ชุดสนับสนุนช่วยรบ  (๓๓ มีหน้าที่คล้ายส่วนสนับสนุนทางการช่วยรบของการจัดกำลังยกพลขึ้นบก
 
          ประจำ กกล.เขต ทก.๓ (๒๖)
กำลังส่วนนี้มีชื่อเรียกภายใน นย.ว่า บก.กกล.นย. ทำหน้าที่ควบคุมกำลังของ ทร. ทั้งหมดที่เข้าร่วมปฏิบัติการตามแผนยุทธการสามชัย
ในขั้นการฝึกเตรียม ทำหน้าที่เป็นกองอำนวยการฝึก
ปฏิบัติการจริง แปรสภาพกำลังพลเข้าไปอยู่ใน บก.กกล.เขต ทภ.๓ (ส่วนหน้า)
            บก.ผส.นย. เป็นแกนหลักในการจัดกำลัง มีนายทหารจากกองพัน และหน่วยต่าง ๆ ของ ผส.นย. มาร่วมด้วย โดยมี ผบ.ผส.นย. เป็น ผบ.หน่วย (น.อ.ประชา ขนิษธุชาต ผบ.ผส.นย.) ตั้ง บก.กกล.นย. ที่ค่ายลูกเสือ อ.หล่มสัก จว.เพชรบูรณ์
 
การจัดกำลังรบ (พันฉก.นย.เพิ่มเติมกำลัง)
 
รายนาม ผบ.หน่วย
น.อ.ประชา   ขนิษฐชาต     ผบ.กกล.นย.
น.ท.สมหวัง   ตันเสถียร      ผบ.พัน.ฉก.นย.
น.ต.บุญเกิด  ผลเนืองมา     ผบ.ร้อย.บก.และบริการ
ร.อ.วันเชาว์   วิเชียรวัฒน์   ผบ.ร้อย.ปืนเล็กที่ ๑
ร.อ.ชีวิน       ปิ่นทอง         ผบ.ร้อย.ปืนเล็กที่ ๒
ร.อ.ประมวล   ยุวนิมิตร       ผบ.ร้อย.ปืนเล็กที่ ๓
น.ต.สมภูรณ์  สุนทรเกตุ     ผบ.ร้อย.ป.
 
การสนธิกำลังเพื่อรบ ตาม "แผนยุทธการสามชัย" เขตรอยต่อ ๓ จังหวัด ได้แก่พื้นที่ อ.หล่มสัก จว.เพชรบูรณ์ อ.นครไทย จว.พิษณุโลก และ อ.ด่านซ้าย จว.เลย โดยจัดกำลังเป็น "พัน.ฉก.นย. เพิ่มเติมกำลัง" สมทบด้วย ร้อย.ป.๑๐๕ มม. (จำนวน ๖ กระบอก) ๑ มว.ลว. ๑ มว.ช. ๑ มว.พ.
สนับสนุนด้วย มว.บ.ฉก. (บ.ตรวจการณ์ 01A จำนวน ๓ เครื่อง) นอกนั้นรับการสนับสนุนอื่น ๆ จาก กกล.เขต ทภ.๓
 
ผู้บังคับบัญชา และผู้บังคับหน่วย และ Keyman ที่สำคัญ
         น.อ.ประชา ขนิษฐชาติ ผู้บังการกรมผสมนาวิกโยธิน กรมนาวิกโยธิน/ผบ.กกล.นย.(ประจำ กกล.เขต ทภ.๓ หรือเรียกภายใน นย.ว่า บก.กกล.นย. ควบคุมกำลังของ ทร.ทั้งหมดที่เข้า ปฏิบัติการในยุทธการสามชัย บก.กกล ณย. เข้าที่ตั้ง ณ ค่ายลูกเสือ อ.หล่มสัก จว.เพชรบูรณ์
          น.ท.สมหวัง ตันเสถียร (พล.ร.ต สมหวัง ตันเสถียร) ผบ.พัน ร.๑ ผส.นย. เป็น (ผบ.พัน.ฉก.นย.เพิ่มเติมกำลัง) ซึ่งประกอบด้วยหน่วยต่าง ๆ ดังนี้
น.ต.บุญเกิด ผลเนืองมา (พล.ร.ต.บุญเกิด ผลเนืองมา เสียชีวิต) ผบ.ร้อย.บก.และบริการ(จัดจาก พัน.ร.๑ ผส.นย.)
ร.อ.วันเชาว์ วิเชียรวัฒน์ (พล.ร.ต.วันเชาว์ วิเชียรวัฒน์) ผบ.ร้อย.ปืนเล็กที่ ๑ (จัดมาจาก พันร.๑ ผส.นย.) สมทบด้วยชุดตรวจการณ์หน้าปืนใหญ่ (นตน.ป.) ร.ต.สุรชัย สหภิญโญชนม์ ปัจจุบัน น.อ.(พ) นามเรียกขาน (Call Sign) "โซโล"
ร.อ.ชีวิน ปิ่นทอง (เสียชีวิต) ผบ.ร้อย.ปืนเล็กที่ ๒ (จัดจาก พัน ร.๓ ผส.นย.) สมทบด้วย ชุดรวจการณ์หน้าปืนใหญ่ (นตน.ป.) ร.ต.นุกูล จันทวิมล ปัจจุบัน นท. นามเรียกขาน (Call Sign) "หงส์หยก"
ร.อ.ประมวล ยุวนิมิตร (พล.ร.ต.ประมวล ยุวนิมิตร) ผบ.ร้อย.ปืนเล็กที่ ๓ (จัดมาจาก พันร.๗ ผส.นย.ระยอง) สมทบด้วย ชุดตรวจการณ์ปืนใหญ่ (นตน.ป.) ร.ต.สมพงษ์ แย้มเลี้ยง ปัจจุบัน น.ท. เสียชีวิต นามเรียกขาน (Call sign) "กิเลน"
น.ต.สมภูรณ์ สุนทรเกตุ (พล.ร.ท.สมฎรณ์ สุนทรเกตุ อดีต ผบ.กรม ป.ๆ/ผบ.พล.นย.เสียชีวิต ผบ.ร้อย.ป.(ขนาด ๑๐๕ มม.จำนวน ๖ กระบอก) เข้าที่ตั้งยิง "ฐาน KING บ้านแม้วป่ายาบ" นามเรียกขาน (Call Sign) "เอสโซ่"
ร.ต.สุรชัย สหภิญญชนม์ (นตน.ป.) นายทหารตรวจการณ์หน้าปืนใหญ่ ปัจจุบัน น.อ.(พ) สมทบ ร้อย.ปืนเล็กที่ ๑ นามเรียกขาน (Call Sign) "โซโล"
ร.ต.นุกล จันทน์วิมล (นตน.ป.) นายทหารตรวจการณ์หน้าปืนใหญ่ ปัจจุบัน น.ท. สมทบ ร้อย.ปืนเล็กที่ ๒ นามเรียกขาน (Call Sign) "หงส์หยก"
ร.ต.สมพงษ์ แย้มเลี้ยง (นตน.ป.) นายทหารตรวจการณ์หน้าปืนใหญ่ ปัจจุบัน น.ท.เสียชีวิต สมทบ ร้อย.ปืนเล็กที่ ๓ นามเรียกขาน (Call Sign) "กิเลน"
น.ต.ทวี พันธ์กาหลง (พล.ร.ต.ทวี พันธ์กาหลง อดีต ผบ.กรม ป.ฯ เสียชีวิต) นายทหารติดต่อปืนใหญ่ (นตต. ป.) ให้การเสนอแนะ ผบ.พัน.ร. (ทก.พัน.ร.หล่มสัก) ในการใช้ปืนใหญ่ยิงสนับสนุน เฝ้าฟังการร้องขอการยิง จากตรวจการณ์หน้าปรับการยิง ซึ่งสมทบไปกับ ร้อย.ปืนเล็กทั้ง ๓ กองร้อย ถ้าเห็นว่าเป้าหมายไม่เหมาะ หรือไม่คุ้มค่า อาจสั่งให้ระงับการยิงได้ รวมทั้งเสนอแนะขอใช้กำลังทางอากาศสนับสนุนด้วย อยู่ที่ ทก.พัน.ร.นาวิกโยธิน พื้นที่บริเวณบ้านหินฮาว อ.หล่มเก่า จว.เพชรบูรณ์ นามเรียกขาน (Call Sign) "ฟ้ามุ่ย"
นายแพทย์ไพสิน เจริญขวัญ แพทย์สนามประจำ ทก.พัน.ร.นย. พื้นที่บริเวณบ้านหินฮาว อ.หล่มเก่า จว.เพชรบูรณ์ เมื่อเวลาทหารถูกยิงหรือถูกกับระเบิด จะมีตอนพยาบาลสมทบให้กับ ร้อย.ปีนเล็กทั้ง ๓ กองร้อย พยาบาลให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น และขอคำแนะนำจากแพทย์สนาม อ.หล่มสัก (ทุกคนพูดติดปาก อ.หล่มสัก) แจ้งอาการบาดเจ็บ รอยบาดแผล และอื่น ๆ ที่จำเป็นทางการแพทย์ อาการผู้ป่วยเสียเลือดมากน้อยแค่ไหน รักษากันทางอากาศ โดยติดต่อได้ทางเดียวคือ วิทยุจากฐานยอดภูลมโลแห่งเดียว แล้วแจ้งต่อให้ ร้อย.ปืนเล็กที่ ๒ และ ร้อย.ปืนเล็กที่ ๓ ทราบ ต่อไป
หมายเหตุ : การอธิบายเพิ่มเติมของประธานชมรม เพื่อซ้อมความเข้าใจ คำว่า บก.ทหารสูงสุด ปัจจุบันเรียกว่า บก.ทท. (กองบัญชาการกองทัพไทย)
 
 
ขอขอบคุณ
นาวาเอก (พิเศษ) สุรชัย สหภิญโญชนม์
วารสารสารสัมพันธ์ศิษย์เก่าโรงเรียนจ่านาวิกโยธิน