ประวัติ กองพันรถสะเทินน้ำสะเทินบก กองพลนาวิกโยธิน

Release Date : 11-12-2021 00:00:00
ประวัติ กองพันรถสะเทินน้ำสะเทินบก กองพลนาวิกโยธิน

ประวัติ และภารกิจที่สำคัญในอดีต กองพันรถสะเทินน้ำสะเทินบก กองพลนาวิกโยธิน

กองพันรถสะเทินน้ำสะเทินบก กองพลนาวิกโยธิน หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ประกอบไปด้วย

-  กองร้อยกองบังคับการกองพันฯ

-  3 กองร้อยรถสะเทินน้ำสะเทินบก

มีภารกิจคือ

       สนับสนุนหน่วยนาวิกโยธิน ในการปฏิบัติการยุทธสะเทินน้ำสะเทินบก ด้วยการนำกำลังส่วนโจมตี และยุทโธปกรณ์ของกำลังรบยกพลขึ้นบกจากเรือใหญ่ไปยังที่หมายบนฝั่ง ปฏิบัติการรบเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยยานเกราะ

 

ธงชัยเฉลิมพล

      ได้รับพระราชธาน เมื่อ วันที่ ๒๕  ธันวาคม  ๒๕๒๓

สัญลักษณ์ประจำหน่วย

      สัญลักษณ์หน่วยเป็นรูป จรสีห์ ส่วนหัวและลำตัวสีน้ำตาล หางสีดำ ในรูปอาร์มสีเขียว กรอบเกลียวเชือก ใต้อาร์ม เป็นโบว์สีขาวสบัดขึ้น มีตัวอักษรสีเหลืองคำว่า "กุมภีล์ในอุทก  ขึ้นบกราชสีห์" โค้งลงตามขอบบนของอาร์ม ตราสัญลักษณ์หน่วยอยู่บน

 

ผืนธงสีแดงและความหมาย ดังนี้
      ๑.  พื้นธงสีแดง  แสดงถึงความเข้มแข็ง  องอาจ เกรียงไกร ซึ่งเป็นสีของทหารนาวิกโยธิน
      ๒.  ตัวอกษรสีเหลือง  แสดงถึงความอ่อนโยน แบบสุภาพบุรุษ  ซึ่งเป็นสีของทหารนาวิกโญะิน
      ๓.  โบว์สีขาว  แสดงถึงความบริสุทธิ์  สง่างาม
      ๔.  รูปอาร์มสีเขียวใบไม้  แสดงถึงความร่มเย็นซึ่งเป็นสีของหน่วย ส่วนกรอบรูปอาร์มเป็นเกลียวเชือกสีขาว แสดงถึงความสามัคคีกลมเกลียว
      ๕.  รูปจรสีห์ คือ เอกลักษณ์ของหน่วย เป็นความหมายของการรวมตัวกันของพญาราชสีห์และพญากุมภีล์ อันหมายถึง ความว่องไว ปราดเปรียว ดุดัน ห้าวหาญสามารถปฏิบัติงานได้ทั้งบนบก และในน้ำ ในลักษณะของการปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบก ดังคำกล่าวที่ว่า 

"กุมภีล์ในอุทก  ขึ้นบกราชสีห์"

 

รายนามผู้บังคับหน่วย

ประวัติ กองพันรถสะเทินน้ำสะเทินบก กองพลนาวิกโยธิน หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน

เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๐  สมัยที่ พล.ร.อ.หลวงสินธ์  กมลนาวิน  เป็นผู้บัญชาการทหารเรือ ได้จัดรถสะเทินน้ำสะเทินบกไว้ใช้ในกองทัพเรือ โดยซื้อมาจากประเทศฟิลิปปินส์  กองทัพเรือได้จัดซื้อรถ LVT 4  ซึ่งเป็นรถที่เหลือใช้จากสงครามโลก ครั้งที่ ๒  จำนวน ๑๒ คัน และรถฮาล์ฟแทรคอีก ๙ คัน ได้ลำเลียงมาโดยเรือหลวงอ่างทองและนำมาเก็บไว้ที่ กองพาหนะสถานีทหารเรือสัตหีบ

      อีก ๒ ปีต่อมา (พ.ศ.๒๔๙๒) กองทัพเรือได้จัดซื้อรถสายพานเพิ่มมากขึ่นอีก มีรถฮาล์ฟแทรค รถดีเซล และรถดั๊ก ในระยะนั้นได้มีผู้ชำนาญการช่างจากประเทศฟิลิปินส์ มาดำเนินการซ่อมแก้ และแนะนำการใช้ให้ด้วย

      อีก ๒ ปีต่อมา  ได้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองขึ้น เมื่อ ๒๙ มิ.ย. ๒๔๙๔ (กบฏแมนฮัตตัน)