เกียรติประวัติ

Release Date : 26-12-2017 00:00:00
เกียรติประวัติ

สงครามอินโดจีน

เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๓ ในวันที่ ๓ ธันวาคม จัดกำลังพลเพื่อเข้าตีโต้ตอบในส่วนของ กองพลจันทบุรี ตามแผนยุทธการกองพลจันทบุรี มีหน้าที่ขับไล่ข้าศึกทางช่องไพลิน และรุกเข้าหา พระตะบอง เพื่อช่วยการเคลื่อนที่ของ กองพลผสมปราจีน โดยเริ่มเคลื่อนย้ายกำลังพลเข้าประจำชายแดน  โดยทางเรือ  มี เรืออ่างทอง , เรือช้าง ,เรือเจ้าพระยา , เรือพงัน  และ เรือคราม  การยาตราทัพดำเนินไปเป็นจุด ๆ  จาก จังหวัดจันทบุรี – อำเภอมะขาม – วัดโป่งโรงเซ็น ข้ามช่องเขาเกลือ – บ้านมาบคล้า – กิ่งอำเภอโป่งน้ำร้อน – บ้านผักกาด การปฏิบัติสามารถเข้ายึดที่หมาย ขั้นที่ ๑ ไพลิน ระยะทาง ๑๔ กม.จาก บ.ผักกาด และได้ถอนกำลังกลับที่ตั้งปกติ ณ สถานีทหารเรือสัตหีบ เที่ยวสุดท้ายเมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๔๘๔ รวมระยะเวลาทั้งสิ้น ๔ เดือน ๑๑ วัน

      ปี พ.ศ.๒๔๘๔ ประเทศไทยได้ครอบครองจังหวัด  พระตะบอง เสียมราช และรัฐกลันตัน กองพันทหารราบที่ ๑ จึงได้รับมอบหมายให้จัดกำลังไปรักษาพื้นที่รัฐ กลันตัน จนถึง ปี พ.ศ.๒๔๘๖  จึงได้เดินทางกลับ

 ที่มา :  http://board.postjung.com/819478.html
       :  https://www.youtube.com/watch?v=nOACk1ejNLY

ยุทธการสามชัย

  

 เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๕  (๑ ก.ย.๒๕๑๕) ได้จัดกำลังไปปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์  บนเทือกเขาภูหินร่องเกล้า ใน “ยุทธการสามชัย” การปฏิบัติครั้งนี้เป็นการปฏิบัติการจริง ที่แฝงมาในการฝึก ร่วมกับกองกำลังเขตกองทัพภาคที่ ๓ โดยใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า “การฝึกร่วม ๑๖” เป็นการปราบ ผกค.ในพื้นที่ภาคเหนือ บริเวณรอยต่อ ๓ จังหวัด คือ เพชรบูรณ์ ,พิษณุโลก และ เลย  การจัดกำลังในส่วนของ พัน.ร.๑ ผส.นย. ซึ่งเป็นแกนในการจัดกำลัง จัด  บก.พัน และ ๑ กองร้อยปืนเล็ก ในนามหน่วย  พัน.ฉก.นย.  โดยมี  นาวาโท สมหวัง  ตันเสถียรเป็น ผู้บังคับกองพัน  น.ต.สง่า    แดงดีเลิศ เป็นรองผู้บังคับกองพัน จนถึงวันที่ ๓๑ ม.ค.๒๕๑๖ จึงเดินทางกลับที่ตั้งปกติ

        ในการปฏิบัติงาน พัน.ฉก.นย.ครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดา และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินโดยเฮลิคอปเตอร์ ไปทรงเยี่ยม ถึงฐานปฏิบัติการ  ณ  บ้านป่ายาบ เมื่อวันที่ ๒๕  มกราคม ๒๕๑๖  เป็นที่ปลื้มปิติยินดี และซาบซึ้ง ในพระมหากรุณาธิคุณ แก่ทหารนาวิกโยธินทุกนาย เป็นอย่างยิ่ง
 
ยุทธการผาภูมิ
 
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๖ (๑ ส.ค.๑๖) หลังจากการฝึกร่วม ๑๖ ตามแผนยุทธการสามชัย ได้เสร็จสิ้นด้วยความสำเร็จผลอย่างงดงามแล้ว  บก.ทหารสูงสุด ได้มีคำสั่งให้มีการฝึกร่วมในปี ๑๗ อีกครั้งหนึ่ง  ตามแผนยุทธการผาภูมิ เพื่อปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ที่ดอยผาจิก  ซึ่งเป็นเขตพื้นที่รอยต่อของจังหวัด เชียงราย และจังหวัดน่าน โดย พัน.ร.๑ ผส.นย. จัดกำลัง ๑ กองร้อยปืนเล็ก โดยมี  ร.อ.สันทนา   พิไชยแพทย์  เป็นผู้บังคับกองร้อย  ขึ้นสมทบกับ กองพันทหารราบที่ ๓  กรมผสมนาวิกโยธิน  ในพื้นที่  อ.เชียงของ, อ.เชียงคำ, อ.ปง  จว.เชียงราย  ร่วมกับกองลัง กองทัพภาคที่ ๒ ตามแผน “ยุทธการผาภูมิ“  ในนามหน่วย  “หน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินที่ ๑๗๑” และทำการเคลื่อนย้ายด้วยเครื่องบิน ซี.๑๒๓ ของกองทัพอากาศจากสนามบิน กองบิน ๗  (หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยาน และรักษาฝั่งในปัจจุบัน) ไปลงที่สนามบิน อ.เชียงคำ จว.เชียงราย ต่อจากนั้นเคลื่อนย้ายด้วยยานยนต์เข้าพื้นที่ปฏิบัติการที่ดอยผาจิก  เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๑๖
        การปฏิบัติ กองร้อยปืนเล็กที่ ๑ พัน.ร.๑ ฯ ได้รับมอบพื้นที่ปฏิบัติการบริเวณ บ.ขุนน้ำยัด ดอยผาจิก อ.ปง จว.เชียงราย  โดยใช้กำลังพิสูจน์ทราบ และกวาดล้าง ผกค. ตามพิกัดเป้าหมายที่ได้รับมอบจากหน่วยเหนือ
        เมื่อสำเร็จภารกิจที่ได้รับมอบ และจบการฝึกร่วม ๑๗ ได้เดินทางกลับที่ตั้งปกติโดยทางรถไฟ ถึงสถานีหัวลำโพง และเคลื่อนย้ายต่อด้วย ยานยนต์ ถึงสัตหีบ เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๑๗ รวมระยะเวลาปฏิบัติการ ๘๔ วัน
 
หน่วยเฉพาะกิจนาวิกโนธิน ๑๘๑
 
  
 
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๗  พัน.ร.๑ ผส.นย. จัดกำลัง ๒ กองร้อย ตามคำสั่งยุทธการ ผบ.ทร.ที่ ๑/๒๕๑๗  ลง  ๒๗ ธ.ค.๑๗ และ คำสั่งยุทธการ ผบ.นย.ที่ ๒/๒๕๑๗  ลง ๒๘ ธ.ค.๑๗ ปฏิบัติตามแผนยุทธการ “บูโด” ศสร.บก.ภ.เขต ๙ สน.ลง ๖ ม.ค.๑๘ ไปปฏิบัติราชการ เพื่อปราบปรามขบวนการโจรก่อการร้าย (ขจก.) และรักษาความสงบ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ มี ร.อ.เชษฐ  โกมลฐิติ  เป็นผู้บังคับกองร้อยปืนเล็กที่ ๒  ร.อ.วัฒนา   วงศ์วิเชียร  เป็นผู้บังคับกองร้อยปืนเล็กที่ ๓  โดยได้ทำการสนธิกำลังขึ้นเมื่อวันที่ ๒๖ ธ.ค.๑๗ เวลา ๐๙๐๐ ในนามหน่วย “ หน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธิน ๑๘๑”  และทำการเคลื่อนย้ายโดยทางเรือ   ประกอบด้วย ร.ล.ช้าง ,ร.ล.อ่างทอง และ ร.ล.ปราบ โดยขึ้นบกที่ สน.สข. และหาดบ้านทอน แล้วเริ่มปรับกำลังเข้าพื้นที่ปฏิบัติการ
        หลังจาก ฉก.นย.๑๘๑ ถอนกำลังออกจากพื้นที่ ตั้งแต่ ๒๖ เม.ย.๒๕๑๘ ทำให้สถานการณ์ชายแดนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เริ่มมีความรุนแรงด้านการก่อการร้าย และคุกคามชีวิตและทรัพย์สินราษฎรในพื้นที่ ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวได้ครอบคลุมไปทั่ว ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา,ปัตตานี, นราธิวาส  โดยเฉพาะจังหวัดนราธิวาส ประชาชนรวมกลุ่มเดินขบวนเรียกร้องให้รัฐบาลส่งทหารนาวิกโยธินกลับมาให้ความ คุ้มครองอีก  โดยเมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๑๘ กรมนาวิกโยธินได้ให้ กองพันทหารราบที่ ๑ กรมผสมนาวิกโยธิน เป็นกำลังหลักจัดกำลัง ๑ กองพันไปปฏิบัติราชการ เพื่อปราบปรามขบวนการโจรก่อการร้าย และรักษาความสงบเรียบร้อย ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามคำสั่งยุทธการ ผบ.ทร.(ลับมาก)ที่ ๑/๒๕๑๘  ลง ๗ พ.ย.๑๘  และ คำสั่งยุทธการ ผบ.นย.(ลับมาก)ที่ ๑/๒๕๑๘ ลง ๑๐ พ.ย.๑๘  โดยมี   นาวาโท  ปรีชา   โสภณดิลก  เป็นผู้บังคับกองพัน  นาวาตรี  บุญเชิด  จูภาวัง  เป็นรองผู้บังคับกองพัน ในนาม “หน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธิน ๑๘๕”
        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดา ทรงเสด็จเยี่ยม ฉก.นย.๑๘๕ และทรงมอบเวชถัณฑ์ แก่กำลังพลทุกนาย
 
หน่วยเฉพาะกิจนาวิกโนธิน ๒๐๒
 
 
 
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๐ สถานการณ์ในพื้นที่ภาคใต้ ผกค.ได้ปฏิบัติการทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ จนเป็นที่เดือดร้อนของประชาชน และกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของชาติ  การปฏิบัติการของ ผกค.ได้ดำเนินการด้านการเมือง และการทหารควบคู่กันไป และเน้นหนักในการปฏิบัติการทางทหารบริเวณพื้นที่รอยต่อจังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสุราษฏร์ธานี
          และเมื่อวันที่ (๑๑ ต.ค.๒๐) กรมนาวิกโยธินได้ให้ กองพันทหารราบที่ ๑ กรมผสมนาวิกโยธินเป็นกำลังหลักในการจัดกำลัง ๑ กองพัน เดินทางไปปฏิบัติราชการ เพื่อปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ และรักษาความสงบเรียบร้อย ที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามคำสั่งยุทธการ ผบ.ทร.ลับมากที่  ๔๒๕๒๐ และ คำสั่งกรมนาวิกโยธิน ลับมาก (เฉพาะ)ที่  ๑๖๒/๒๕๒๐ โดยมีนาวาโท บุญเชิด  จูภาวัง  เป็นผู้บังคับกองพัน  นาวาตรี  ถาวร   วัฒนารมย์  เป็นรองผู้บังคับกองพัน ประกอบด้วย ร.ท.สุชาติ    คนแรง เป็น ผบ.บก.และยริการ , ร.ท.บัณฑูร   วรรณสุทธิ์ เป็น ผบ.ร้อย.ปืนเล็กที่ ๑ , ร.ท. วทินนา   พึ่งพระเกียรติ  เป็น ผบ.ร้อย.ปืนเล็กที่ ๒ , ร.ท.สุวิทย์   ธาระรูป เป็น ผบ.ร้อย.ปืนเล็กที่ ๓ ฯ  สนับสนุนด้วย กองร้อยปืนใหญ่ มี ร.อ.ทวีศักดิ์   บุรุษานนท์ และ หมวดบิน มี ร.อ.ไพฑูรย์   ไวยวุฒิ เป็น ผบ.มวบ. ในนาม “หน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธิน ๒๐๒”
          กองบังคับการอยู่ที่บ้านในทุ่ง อ.ท่าศาลา จว.นครศรีธรรมราช ในการปฏิบัติราชการครั้งนี้ ฯ มีการสูญเสียกำลังพลมากที่สุด ถึง ๒๓ นาย บาดเจ็บทุพพลภาพ ๕๐ กว่านาย เสร็จภารกิจเดินทางกลับที่ตั้ง เมื่อ ๒๐ ต.ค.๒๕๒๑ จากการปฏิบัติราชการครั้งนี้  เรือโท  วทินนา   พึ่งพระเกียรติ  ผู้บังคับกองร้อยได้รับพระราชทานเหรียญรามาธิบดี
 
ป้องกันอธิปไตยบริเวณ จ.จันทบุรี และตราด
 
 
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๒ (๒๑ พ.ค.๒๕๒๒) กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑ กรมนาวิกโยธินจัดกำลังออกไปปฏิบัติราชการชายแดน  อ.โป่งน้ำร้อน จว.จันทบุรี เพื่อป้องกันอธิปไตยและรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศ โดยมี  น.ท.สันทนา   พิไชยแพทย์  เป็นผู้บังคับกองพัน  นาวาตรี ดำรินทร   อิศรางกูร  ณ  อยุธยา  เป็นรองผู้บังคับกองพัน ไปตั้งกองบังคับการกองพัน อยู่ที่ บ้านจางวาง  อ.โป่งน้ำร้อน  จว.จันทบุรี  ในนามหน่วย “กองพันทหารราบที่ ๑ กองกำลังด้านจันทบุรี – ตราด” (พัน.ร.๑ กจต.) ในการไปปฏิบัติราชการครั้งนี้ ได้มีการปะทะกับ กองกำลังทหารกัมพูชา และแนวร่วมเวียดนาม ทำให้ฝ่ายเราเสียชีวิต ๒ นาย บาดเจ็บและพิการ ๒ นาย และได้เดินทางกลับที่ตั้งปกติ     เมื่อ ๑๑ เม.ย.๒๕๒๔
        เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๖ (๑ ต.ค.๒๕๒๖) กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑ กรมนาวิกโยธินได้จัดกำลังออกไปปฏิบัติราชการ เพื่อป้องกันอธิปไตยของชาติ ในพื้นที่  อ.โป่งน้ำร้อน จว.จันทบุรี และไปตั้งที่บังคับการอยู่ที่  บ.จางวาง  ในนามหน่วย “กองพันทหารราบที่ ๑ กองกำลังด้านจันทบุรี – ตราด” (พัน.ร.๑ กจต.)โดยมี  น.ท.สุรินทร์   รอดสวาสดิ์  เป็นผู้บังคับกองพัน จนถึงวันที่ ๓๑ มี.ค.๒๕๒๗ จึงเดินทางกลับรวมระยะเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ ๖ เดือนปี พ.ศ.๒๕๒๗ (๑ เม.ย.๒๕๒๗) กองพันทหารราบที่ ๑ กองกำลังด้านจันทบุรี – ตราด ได้รับคำสั่งให้เคลื่อนย้ายกำลังจาก  อ.โป่งน้ำร้อน จว.จันทบุรี เข้าไปรับผิดชอบพื้นที่ อ.เขาสมิง, อ.บ่อไร่ จว.ตราด  แทนกองพันทหารราบที่ ๗ (พัน.ร.๗ กจต.) โดยตั้งที่บังคับการอยู่ที่  บ.ศรีบัวทอง ต.วังตะเคียน อ.เขาสมิง จว.ตราด กำลังอีกส่วนหนึ่งส่งไป เข้ารับผิดชอบพื้นที่  บ.หาดเล็ก  บ.หาดสารพัดพิษ  ในนาม “หน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธิน ๑๘๒” (ฉก.นย.๑๘๒)  อ.คลองใหญ่ จว.ตราด ซึ่งเป็นพื้นที่ฝ่ายตรงข้าม มีการปฏิบัติการมากที่สุด และในการปฏิบัติการครั้งนี้ ทำให้หน่วยต้องสูญเสียกำลังพลไป นาย คือ
       ๑. จ.อ.วสันต์       ขอสูงเนิน
       ๒. จ.อ.เกรียงศักดิ์ ดรุณพันธ์
       ๓. พลฯ จำแรง    ทองใหม่
     บาดเจ็บสาหัส ๔ นาย
            ๑. ร.ต.สมยศ   พิมพา  (ปัจุบัน ยศ นาวาโท) 
            ๒. จ.อ.สถิต   สุขศรี    (ปัจุบัน  ยศ นาวาตรี) 
            ๓. พลฯ จำลอง      ดำคล้าย 
            ๔. พลฯ เกรียงศักดิ์ สมคะเน
 
ยุทธการบ้านชำราก
 
 
 

 เมื่อ เมษายน ๒๕๒๘ กำลังทหารเวียดนาม จำนวน ๒ กรม ร. ปฏิบัติการโจมตีกวาดล้าง กำลังทหารกัมพูชาประชาธิปไตย (กพป.) ซึ่งมีฐานที่มั่นตามแนบเทือกเขาบรรทัด ตรงข้ามบ้านชำราก อำเภอเมือง จังหวัดตราด  การโจมตีของกำลงเวียดนามซึ่งมีกำลังรบ และอาวุธสนับสนุนที่เหนือกว่าทำให้กำลัง กพป.ไม่สามารถต้านทานได้ จึงแตกร่นถอยเข้ามาในประเทศไทย และกำลังทหารเวียดนามได้รุกไล่ติดตามเข้ามาในเจตประเทสไทย และทำการวางกำลังยึดพื้นที่ดัดแปลงที่มั่นทำการตั้งรับ ซึ่งการวางกำลังบางพื้นที่ลึกเข้ามาในประเทศไทยประมาณ ๑๐๐๐ – ๑๕๐๐ เมตร จากการรุกล้ำอธิปไตยของไทย โดยกำลังทหารเวียดนามดังกล่าว  ผู้บัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรี และตราด (กจต.) พลเรือโท ประเสริฐ   น้อยคำศิริ จึงวางแผนปฏิบัติการเข้าตีโต้ตอบ เพื่อผลักดันกำลังทหารเวียดนามที่รุกล้ำอธิปไตยให้ออกนอกเขตประเทศไทย โดย พัน.ร.๓ กจต. ทำการเข้าตี  พัน.ร.๑ กรม ร.๑ พล.นย. เป็นกองหนุน

และ ในวันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๒๘ กจต. ปรับกำลังใหม่โดยสั่งการให้กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑ กรมนาวิกโยธิน ซึ่งเป็นกองหนุน เคลื่อนย้ายกำลังจากที่ตั้งปกติ เข้าที่รวมพลบริเวณวัดคิรีวิหาร และสนธิกำลังเป็น พัน.ร.๑ กจต. โดยมี นาวาโท เทอดศักดิ์   พรหมศิริ เป็นผู้บังคับกองพัน ร.อ.ณรงค์  แก้วสว่าง ผบ.ร้อย.ปืนเล็กที่ ๑ ฯ เป็น นายทหารยุทธการ ประกอบด้วย ๓ กองร้อยปืนเล็ก ได้แก่  เรือเอก ธนะกาญจน์   ใคร่ครวญ ผบ.ร้อย.ปืนเล็กที่ ๒ ฯ เป็น ผบ.ร้อย.ฯ  ร.ท.รัตนะ   วงศาโรจน์ ผบ.ร้อย.ปืนเล็กที่ ๓ เป็น ผบ.ร้อย.ฯ   เรือโท ทวี   พิกุลทอง ผบ.ร้อย.ปืนเล็กที่ ๔ ฯ เป็น ผบ.ร้อย.ฯ นำกำลังเข้าตีผลักดันกำลังทหารเวียดนาม (ทวน.) ที่รุกกล้ำอธิปไตยเข้ามาออกไปพ้นเขตประเทศไทยได้  เมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๒๘ และได้ส่งมอบพื้นที่ให้ พัน.ร.๓ กจต.รับผิดชอบวางกำลังป้องกันพื้นที่ต่อไป
ผลการปฏิบัติ
การสูญเสียของฝ่ายเรา
- บาดเจ็บจากการรบ จำนวน ๑๘ นาย (ขาขาด เนื่องจากถูกระเบิดระหว่างเข้าตี ๕ นาย)
การสูญเสียของฝ่ายทวน.

  - เสียชีวิตจำนวน๑๕นาย

  - บาดเจ็บจำนวนมาก

ฝ่ายเรายึดอาวุธของ  ทวน. ได้   ปก.๑๒.๗มม. ๑กระบอก  ปก.๗.๖๒มม.๒กระบอก  กระสุน๖,๐๐๐.- นัดปืนอาร์ก้า ๒กระบอก ลข.และทุ่นระเบิดจำนวนมาก

ในการรบครั้งนี้มีผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ ๑ จำนวน ๒ นาย 

 

             ปีพ.ศ.๒๕๔๑กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑ กองพลนาวิกโยธินจัดกำลังพลออกไปปฏิบัติราชการเพื่อป้องกันอธิปไตยของชาติในนามพัน.ร.ฉก.นย.ตราด  และฉก.นย.๑๘๒โดยมี  นาวาโท  วรพงษ์   ทองเรือง  เป็นผบ.พัน.ร.ฉก.นย.ตราด/ ผบ.ฉก.นย.๑๘๒และฉก.นย.ตราด  สั่งการให้พัน.ร.ฉก.นย.ตราดจัดกำลังพลจำนวน๑๑นายเป็นชุดควบคุมศูนย์พักพิงชั่วคราว  บ.เขาพลูอ.เมืองจว.ตราดและอส.ทพ.นย. ขึ้นสมทบ๑ชป.โดยมี  เรือโทประดิษฐ   บางจั่น  เป็นหน.ชุดฯและเมื่อ๒๗มี.ค.๔๑ชุดควบคุมศูนย์พักพิงชั่วคราวได้ปะทะกับฝ่ายตรงข้ามประมาณ๓๐- ๔๐คนที่รุกล้ำอธิปไตยเข้ามาทำการก่อกวนและก่อวินาศกรรมภายในศูนย์พักพิงชั่วคราวฝ่ายเราสามารถผลักดันฝ่ายตรงข้ามถอนกำลังออกนอกเขตประเทศไทยได้ผลการปะทะในครั้งนี้  
           - ฝายตรงข้ามเสียชีวิต๒ศพและยึดอาวุธปืนเล็กยาวAk3 –47 จำนวน ๓ กระบอก เครื่องยิงจรวดอาร์พีจี จำนวน ๑ เครื่อง กระสุนจำนวน ๒ นัด และบาดเจ็บจำนวนหนึ่งฝ่ายเราปลอดภัยไม่มีผู้ใดเสียชีวิตได้รับบาดเจ็บ ๑ นาย (อส.ทพ.นย.)                                                           ปี พ.ศ.๒๕๔๓ (๑ต.ค.๒๕๔๒) กองพันทหารราบที่๑กรมทหารราบที่๑กรมนาวิกโยธินจัดกำลังออกไปปฏิบัติราชการชายแดนอ.โป่งน้ำร้อนจว.จันทบุรีเพื่อป้องกันอธิปไตยและรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศโดยมี  นาวาโท ทวี   วงศ์วาน เป็นผู้บังคับกองพัน  และได้เดินทางกลับที่ตั้งปกติ เมื่อ ๓๐ ก.ย.๔๓                                                                                                                                            ปี พ.ศ.๒๕๔๔(๑ต.ค.๒๕๔๔) กองพันทหารราบที่๑กรมทหารราบที่๑กรมนาวิกโยธินได้จัดกำลังออกไปปฏิบัติราชการเพื่อป้องกันอธิปไตยของชาติในนามพัน.ร.ฉก.นย.ตราด  และฉก.นย.๑๘๒โดยมี  นาวาโท  ปัญญา   โกยม  เป็นผบ.พัน.ร.ฉก.นย.ตราด/ ผบ.ฉก.นย.๑๘๒และฉก.นย.ตราด  และได้เดินทางกลับที่ตั้งปกติ     เมื่อ ๓๐ ก.ย.๔๕                                                                                                ปี พ.ศ.๒๕๔๗(๑ต.ค.๒๕๔๖) กองพันทหารราบที่๑กรมทหารราบที่๑   กรมนาวิกโยธิน จัดกำลังออกไปปฏิบัติราชการชายแดน ด้านจันทบุรี (พัน.ร.ฉก.นย.จันทบุรี ) ตามคำสั่ง นย.ลับ(เฉพาะ) ที่ ๑๔๗/๒๕๕๖ ลง ๒๘ ส.ค.๔๖ เพื่อป้องกันอธิปไตยและรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศโดยมี  นาวาโท  ณรงค์   วงษ์ประเสริฐ เป็นผู้บังคับกองพัน  และได้เดินทางกลับที่ตั้งปกติ  เมื่อ๓๐ ก.ย.๔๗
        ปี พ.ศ.๒๕๔๘ (๑ ต.ค.๒๕๔๗) กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑   กองพลนาวิกโยธิน จัดกำลังออกไปปฏิบัติราชการ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในนามหน่วย กองพันทหารราบที่ ๒ หน่วยเฉพาะกิจที่ ๓๒ รับผิดชอบบริเวณพื้นที่ อ.เมือง, อ. ตากใบ, อ.สุไหโก-ลก, อ.แว้ง, อ. สุคิริน  ตั้งแต่ ๑ ต.ค.- ๗ พ.ย.๒๕๔๗  และเมื่อปรับกำลังเปลี่ยนพื้นที่รับผิดชอบ ๒ อำเภอ คือ อ.ยี่งอ และ อ.บาเจาะ จว.นราธิวาส จนถึง    ๓๐ ก.ย.๔๘  โดยมี นาวาโท ณรงค์  วงษ์ประเสริฐ  เป็นผู้บังคับกองพัน ในการปฏิบัติครั้งนี้ทำให้หน่วยต้องสูญเสียกำลังพลดังนี้

เสียชีวิต จำนวน ๔  นาย ดังนี้.-                                         พิการทุพพลภาพ จำนวน ๑ นาย ดังนี้.-

     ๑. พ.จ.อ.ฉกาจ     เทียมถนอม                                       ๑. พลฯ สมพงษ์       กงแก้ว

     ๒. จ.อ.วิทยา       ดวงเจริญ                                        ได้รับบาดเจ็บอีก ๑๘ นาย

     ๓. พลฯ วิษณุ       บัญฑิตนิธิกุล

    ๔. พลฯ นิยะโกะ  ดาโอะ

  ปีพ.ศ.๒๕๔๙  (๑ต.ค.๒๕๔๘) กองพันทหารราบที่๑กรมทหารราบที่๑ กองพลนาวิกโยธิน จัดกำลังออกไปปฏิบัติราชการชายแดนเพื่อป้องกันอธิปไตยและรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศโดยรับผิดชอบ ๒ จังหวัดภาคตะวันออก ในนามหน่วย พัน.ร.ฉก.นย.จันทบุรี อ.โป่งน้ำร้อนจว.จันทบุรี, พัน.ร.ฉก.นย.ตราด อ.เมือง จว.ตราด และ ฉก.นย.๑๘๒      บ.หาดเล็ก อ.คลองใหญ่  จว.ตราด  โดยมี  นาวาเอก  ณรงค์  วงษ์ประเสริฐ  เป็น ผู้บังคับกองพัน  

ปีพ.ศ.๒๕๕๑  (๑ต.ค.๒๕๕๐) กองพันทหารราบที่๑รักษาพระองค์ กรมทหารราบที่๑ กองพลนาวิกโยธิน จัดกำลังออกไปปฏิบัติราชการชายแดน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศโดยจัดกำลัง ๑ กองร้อย สมทบ พัน.ร.๓ กรม ร.๑ พล.นย.ในนามฉก.นราธิวาส ๓๒ ตามคำสั่ง กอ.รมน.ที่ ๑๔๒/๒๕๕๑ ลง ๑๓ พ.ค.๕๑ รับผิดชอบพื้นที่ อ.ยี่งอ จว.นราธิวาส โดยมีร.อ.ยศพัทร์พูลเกษม  เป็น ผู้บังคับกองร้อยจนถึงวันที่ ๓๐ ก.ย.๕๑ เดินทางกลับ

ปีพ.ศ.๒๕๕๒  (๑ต.ค.๒๕๕๑) กองพันทหารราบที่๑รักษาพระองค์ กรมทหารราบที่๑ กองพลนาวิกโยธิน จัดกำลังออกไปปฏิบัติราชการชายแดน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศโดยจัดกำลัง ๑ กองร้อย สมทบ พัน.ร.๘ กรม ร. ๓ พล.นย. ในนาม ฉก.ปัตตานี ๒๖ ตามคำสั่ง กอ.รมน.ที่ ๒๒/๒๕๕๒  ลง ๒๑ ม.ค.๕๒ รับผิดชอบพื้นที่ อ.ไม้แก่น จ.ปัตตานีโดยมี   ร.อ.ดิฐพัฒน์   โลหิตกาญจน์เป็น ผู้บังคับกองร้อยจนถึงวันที่ ๓๐ ก.ย.๕๒ เดินทางกลับ ในการปฏิบัติครั้งนี้ทำให้หน่วยมีกำลังพลได้รับบาดเจ็บ ๒ นาย

ปีพ.ศ.๒๕๕๓  (๑ต.ค.๒๕๕๒) กองพันทหารราบที่๑รักษาพระองค์ กรมทหารราบที่๑ กองพลนาวิกโยธิน จัดกำลังออกไปปฏิบัติราชการชายแดน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศโดยจัดกำลัง ๑ กองร้อย สมทบ พัน.ร.๘ กรม ร. ๓ พล.นย.ในนาม ฉก.ปัตตานี ๒๖ ตามคำสั่ง กอ.รมน.ที่ ๓๙/๒๕๕๓  ลง ๒๖ ม.ค.๕๓ รับผิดชอบพื้นที่ อ.ไม้แก่น จ.ปัตตานี โดยมีร.อ.อธิวัฒน์   แสงสว่าง เป็น ผู้บังคับกองร้อย

ปีพ.ศ.๒๕๕๔ (๑ต.ค.๒๕๕๓) กองพันทหารราบที่๑รักษาพระองค์ กรมทหารราบที่๑ กองพลนาวิกโยธิน ได้รับมอบภารกิจให้จัดกำลังเป็น หน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส ๓๒ เป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังทหารในพื้นที่ ทภ.๔ ร่วมแก้ปัญหาการก่อความไม่สงบใน จังหวัดชายแดนภาคใต้ รับผิดชอบพื้นที่ ๒ อำเภอ อ.ยี่งอ และ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส 

   -ทิศเหนือ ติดต่อกับ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี พื้นที่รับผิดชอบของ ฉก.ปัตตานี ๒๖ 

  -ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อ.เมือง จ.นราธิวาส พื้นที่รับผิดชอบของ ฉก.นราธิวาส ๓๓ และ  อ.ไม้แก่น จ.ปัตตานี พื้นที่รับผิดชอบของ ฉก.ปัตตานี ๒๖

  -ทิศใต้ ติดต่อกับ อ.เมือง จ.นราธิวาส พื้นที่รับผิดชอบของ ฉก.นราธิวาส ๓๓ และ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส พื้นที่รับผิดชอบของ ฉก.ปัตตานี ๓๘

  -ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อ.กะพ้อ จ.ปัตตานี พื้นที่รับผิดชอบของ ฉก.ปัตตานี ๒๕ อ.รามัน       จ.ยะลา พื้นที่รับผิดชอบของ ฉก.ยะลา ๑๒ และ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส  พื้นที่รับผิดชอบของ ฉก.ปัตตานี ๓๘ จนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ เดินทางกลับ

       ปีพ.ศ.๒๕๕๕ (๑ต.ค.๒๕๕๔) กองพันทหารราบที่๑รักษาพระองค์ กรมทหารราบที่๑กองพลนาวิกโยธิน จัดกำลัง ๑ กองร้อย สมทบ พัน.ร.๓ กรม ร.๑ พล.นย.ในนามฉก.นราธิวาส ๓๒ ร่วมแก้ปัญหาการก่อความไม่สงบใน จังหวัดชายแดนภาคใต้ตามคำสั่ง นย.(เฉพาะ) ที่ ๑๑๗/๒๕๕๔ เรื่อง  การผลัดเปลี่ยนกำลัง ฉก.นย.ทร.และ ฉก.นย.ภต.ประจำปี งป.๕๕ รับผิดชอบพื้นที่ อ.บาเจาะ จว.นราธิวาส โดยมีร.ท.มานพ  สืบสาย เป็น ผู้บังคับกองร้อยจนถึงวันที่ ๓๐ ก.ย.๕๕ เดินทางกลับ 

ต่อมาในเดือน เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕ (๑ เม.ย.๕๕) หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ให้ทำการผลัดเปลี่ยนกำลังในพื้นที่ชายแดนภาคตะวันออก โดยให้ พัน.ร.๑ รอ.กรม ร.๑ พล.นย.จัดกำลัง เป็น พัน.ร.ฉก.นย.จันทบุรี รับผิดชอบด้าน จ.จันทบุรี ตามบันทึก ยก.นย.ลับ ด่วนมาก ที่ กห๐๕๑๔.๑/๓๐ ลงวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๕ เรื่อง การผลัดเปลี่ยนกำลัง พัน.ร.ฉก.นย.จังหวัด ฉก.นย.๑๘๒ และ ฉก.นย.๔๑๑    

      ปีพ.ศ.๒๕๕๖  (๑ต.ค.๒๕๕๕) กองพันทหารราบที่๑รักษาพระองค์ กรมทหารราบที่๑กองพลนาวิกโยธิน จัดกำลังรับผิดชอบ ๒ พื้นที่ ๆ จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ พื้นที่ชายแดนภาคตะวันออก โดยมีการจัดกำลังดังนี้

  ๑. จัดกำลัง ๒ กองร้อย สมทบ พัน.ร.๗ กรม ร.๑ พล.นย.ในนาม ร้อย.ปืนเล็กที่ ๑ ฉก.นราธิวาส ๓๒ รและร้อย.ปืนเล็กที่ ๔ ฉก.นราธิวาส ๓๒ ร่วมแก้ปัญหาการก่อความไม่สงบใน จังหวัดชายแดนภาคใต้ตามบันทึก ยก.นย.ลับ ด่วนมาก ที่  กห๐๕๑๙.๑/๙๑  ลง ๑๖ ส.ค.๕๕ เรื่อง ขออนุมัติ งป.และแผนการผลัดเปลี่ยนกำลัง ฉก.นย.ทร.และ ฉก.นย.ภต.ประจำปี งป.๕๖

  -ร้อย.ปืนเล็กที่ ๑ ฉก.นราธิวาส ๓๒ รับผิดชอบพื้นที่ อ.บาเจาะ จว.นราธิวาส โดยมีร.อ.มานพ  สืบสาย   เป็น ผู้บังคับกองร้อย

  -ร้อย.ปืนเล็กที่ ๔ ฉก.นราธิวาส ๓๒ รับผิดชอบพื้นที่ อ.ยี่งอ จว.นราธิวาส โดยมีร.อ.ธีรพล  ลำไยสถิต เป็น ผู้บังคับกองร้อย

  ๒. จัดกำลังเป็น พัน.ร.ฉก.นย.จันทบุรี เป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังทหาร ในพื้นที่ กองกำลังป้องกันชายแดนด้านจันทบุรี และตราด  โดยมี น.ท.ปณต  มีมอญ เป็นผู้บังคับกองพัน

ปีพ.ศ.๒๕๕๘  (๑เม.ย.๒๕๕๘ ปีงบประมาณ ๒๕๕๙) กองพันทหารราบที่๑รักษาพระองค์ กรมทหารราบที่๑กองพลนาวิกโยธิน จัดกำลังเป็น พัน.ร.ฉก.นย.จันทบุรี เป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังทหาร ในพื้นที่ กองกำลังป้องกันชายแดนด้านจันทบุรี และตราด  โดยมี น.ท.บดินทร์  นิธิอุทัย  เป็นผู้บังคับกองพัน

      ปีพ.ศ.๒๕๕๙  (๑ต.ค.๒๕๕๙ ปีงบประมาณ ๒๕๖๐) กองพันทหารราบที่๑รักษาพระองค์ กรมทหารราบที่๑กองพลนาวิกโยธิน จัดกำลังเป็น พัน.ร.ฉก.นย.ตราด และ ฉก.นย.๑๘๒ เป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังทหาร ในพื้นที่ กองกำลังป้องกันชายแดนด้านจันทบุรี และตราด  โดยมี น.ท.บดินทร์  นิธิอุทัย  เป็นผู้บังคับกองพัน

    

               

รูปภาพที่เกียวข้อง
เกียรติประวัติ
ข่าวสารที่เกี่ยวข้อง